Monday, October 29, 2007

ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้

Application Program หรือ แอพพลิเคชั่นโปรแกรม หรือเรียกสั้นๆว่า Application หรือ แอพพลิเคชั่น คือ โปรแกมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ใ ช้โดยตรง หรือจากแอพพลิเคชั่นอื่นในบางกรณีตัวอย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, ดาต้าเบส, เว็บเบราวเซอร์, เครื่องมือพัฒนา หรือ ดีเวลอปเมนต์ทูล (Development Tool), โปรแกรมดรอว์อิ้ง, โปรแกรมเพนต์, โปรแกรมตกแต่งภาพ (Image Editor) และโปรแกรมสื่อสาร (Communication Program) เป็นต้นแอพพลิเคชั่นจะมีการเรียกใช้เซอร์วิสของระบบปฏิบัติก ารหรือโปรแกรมซัพพอร์ตอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยรูปแบบในการขอใช้หรือรีเควสต์ (Request) เซอร์วิส และวิธีการสื่อสารกับโปรแกรมอื่น ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น เรียกว่า แอพพลิเคชั่นโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Application Program Interface; API)



BIOS หรือ ไบออส หรือ Basic Input/Output คือโปรแกรมที่ไมโครโปรเซสเซอร์ใช้เพื่อเริ่มสตาร์ทกา รทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลังเปิดสวิตช์ ไบออสจะคอยควบคุมหรือจัดการกับกระแสข้อมูลที่วิ่งระห ว่างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (Operating System; OS) กับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ เช่น ฮาร์ดดิสก์, กราฟิกการ์ด, คีย์บอร์ด, เมาส์ หรือพรินเตอร์ เป็นต้นไบออสจะถูกบรรจุไว้ในชิพเอ็ปรอม (EPROM) ซึ่งถูกอินทิเกรตติดไว้กับเมนบอร์ด ไม่เหมือนกับโอเอสที่แยกติดตั้งต่างหาก ทันทีที่เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะส่งผ่านการควบคุมไปให้กับไบออสไบออสจะทำการค้นหาว่า มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่กับระบบและพร้อมทำงานบ้าง จากนั้นจึงโหลดโอเอสเข้าสู่หน่วยความจำหลักหรือแรมจา กฮาร์ดดิสก์ไบออสทำให้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นเป็นอิสระ คือไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์นั ้นๆ เช่น แอดเดรส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ มีเพียงไบออสเท่านั้นที่ต้องถูกแก้ไขหรือปรับแต่งให้ ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบางครั้งการแก้ไขไบออสสามารถทำได้ในระหว่างเซ็ตอ ัพระบบแม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ไบออสจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสข้อมูลระห ว่างไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต แต่ในบางกรณี ไบออสยังสามารถนำมาใช้ควบคุมกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่ างอุปกรณ์ เช่น กราฟิกการ์ด กับหน่วยความจำได้อีกด้วย เพื่อการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่าBus "Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรื อเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะร ับข้อมูลก้อนนั้นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุ ปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น



Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddiskบ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุดแคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยายขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย



Chipset หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด



CPU (Central Processing Unit)หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความ จำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)



DRAM Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆRandom Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้นDRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าDRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ตปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น



EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขียนหรือแก้ไขข้อมูล



EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่ว ยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท ่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร ้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้

Friday, October 26, 2007

หน่วยก่อการร้าย

Adware Adware (advertising-supported software) เป็นแอพพลิเคชั่นซอร์ฟแวร์ ซึ่งทำงานและแสดงภาพอัตโนมัติหรือทำการ ดาวน์โหลดสื่อโฆษณาไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานโดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว ลักษณะหน้าตาโดยทั่วไปเป็น pop-up window หรือโฆษณาที่ดึงดูดให้เข้า ไปตามเว็บไซต์นั้นๆ แอดแวร์บางตัวสามารถผ่านเข้าระบบที่ต้องได้รับการอนุญาตของผู้ใช้งานได้ เนื่องจากการใช้งานของโปรแกรมต้องมีการยอมรับ ที่จะให้โฆษณาเข้ามาสู่เครื่องของเรา

Dialer เป็นโปรแกรมที่จะทำการต่อสายโทรศัพท์ให้กับผู้ใช้โดยจะต่อออกไปทาง Internet ด้วยราคาที่สูงมาก แต่ โปรแกรมนี้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เช่นกันเมื่อทำการจ่ายค่าบริการ Internet แต่ Dialer ที่ไม่ดีมักจะต่อสายไป โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้

Phishing เป็นรูปแบบการโจรกรรมข้อมูลชนิดหนึ่ง โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Social Engineering ซึ่งมันจะพยายามที่จะหลอกลวงเอาข้อมูลที่มีค่า เช่น รหัสผ่าน , ข้อมูลบัตรเครดิต โดยการหลอกให้เข้าใจผิดว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นมาจากบุคคล หรือสถานที่ที่น่าเชื่อถือ ในรูปแบบของอีเมล์ที่ทำหลอกขึ้นมาให้เหมือนจริง การได้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อนั้น น่าสนใจมาก เพราะว่า ผู้โจมตีนั้นสามารถที่จะใช้ข้อมูลเหล่านั้นปลอมตัวเอง เพื่อใช้ไปทำธุรกิจทางการเงินในทางที่ผิด

Trojan horse (บางครั้งเรียกว่า Trojan) เป็นโปรแกรมอันตรายชนิดหนึ่ง ไม่เหมือนกับไวรัสและเวิร์ม มันไม่สามารถ กระจายตัวเองและแพร่เชื้อไปสู่ไฟลได้ด้วยตัวมันเอง ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบอยู่กับไฟล์ที่อยู่ในสกุล .EXE หรือ .COM โดยทั่วไปแล้วไฟล์นั้นจะมีอะไรเลยนอกจากรหัสอันตรายวิธีการจัดการ โทรจันที่ได้ผลมากที่สุด คือ การลบไฟล์นั้นทิ้ง โทรจันจะหลอกว่าตัวมันเองนั้นเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ การโจมตีมีหลายรูปแบบอาจจะเป็นจากการส่งคีย์ล๊อคเกอร์ (Keylogger) หรือการลบไฟล์ (ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์) อีกทั้งยังมีหน้าที่พิเศษ คือ การเรียกการติดตั้งของ backdoor

Virus คือ โปรแกรมที่สามารถกระจายตัวได้ มันจะคัดลอกตัวเองให้ไปอยู่กับไฟล์ execute ซึ่งชื่อของไวรัสต่างๆ จะได้มา จากลักษณะพฤติกรรมการทำงาน สาเหตุสำคัญ ที่ไวรัสสามารถเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได ้ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมา จากทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นไวรัสสามารถแพร่กระจายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ผ่าน ระบบเลนหรือการคัด ลอกสำเนาข้อมูลจาก floppy disc,CD, DVD เป็นต้น มีไวรัสหลายประเภททั้งตัวมันเองที่เป็นไฟล์อันตราย ไวรัสที่ทำการโจมตีบู๊ทเซ็คเตอร์ของฮาร์ดดิสก์มันจะทำงานทุกเครื่องเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งโดยมากแล้วจะมา พร้อมกับเอกสารสกุลไฟล์ .DOC และ .XLSไวรัสสามารถแยกออกได้เป็นสองชนิด ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเมื่อมีการแตกตัวไวรัสที่ไม่ได้ฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ จะทำงานโดยเกาะไปกับเอกสาร โดยไวรัสจะทำงาน ควบคุมและสั่งการเบื้องหลังโดยผ่านเอกสารที่ถูกเปิดการทำงานนั่นเอง

Worm เป็นโปรแกรมที่สามารถจำลองตัวเองและแพร่กระจายตัวเองได้อย่างอิสระผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบแลน ตามปกตินั้นไวรัสจะไม่สามารถจำลองตัวเอง และแพร่กระจายตัวเองไปยังที่อื่นได้ แต่เวิร์มจะใช้ระบบเครือข่ายในการแพร่ กระจายตัวเองไปยังระบบอื่นๆ หรือระบบที่มีความปลอดภัยไม่มั่นคงเวิร์มสามารถนำโปรแกรม ที่มีอันตรายต่อเครื่อง คอมพิวเตอร์และทำการทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิร์มสามารถนำ Backdoor เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจทำให้มีผู้ประสงค์ร้ายเข้ามา ทำอันตรายได้เวิร์มจะทำให้ การส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายเสียหายหรือทำให้ความเร็วในการใช้งานเครือข่ายช้าลง เวิร์มสามารถแพร่กระจายตัวเองไปในระบบอินเตอร์เน็ต ได้ทั้งโลกเพียงใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ผลกระทบข้างเคียงของเวิร์มนั้นจะทำให้ระบบเครือข่ายมีความหนาแน่นของข้อมูลสูงซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้ล่าช้ากว่า ปกติ