Tuesday, July 24, 2007

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ แบบที่เข้าใจ

  • เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน
  • แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี
  • ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา … เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
  • เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
  • ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
  • ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
  • เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
  • ถ้าเราทำให้คนอื่นเสียชีวิตอาจจะหัวใจวายเพราะเห็นรูปไม่ดีของตัวเอง งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
  • ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ … เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
  • โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
  • ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
  • ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
  • เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
  • ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (จริงดิ?)
กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา … จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทครับ

Monday, July 16, 2007

การอ่านและเลือก Spec คอมพิวเตอร์

Spec Computer

การอ่านสเปคคอมพ์ไม่อยาก แต่ต้องมีวิธีการในการหาข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งจะทำให้เราทราบรายละเอียดต่างๆได้มากขึ้น ก่อนอื่นต้องรู้เสเป็คคร่าวๆ การจะรู้นั้นไม่ยาก ให้ดูตอนเครื่องคอมพิวเตอร์บูตนั่นเอง ตัวเครื่องจะบอกว่าซีพียูรุ่นอะไร แรมมีขนาดเท่าไร ฮาร์ดดิสค์และซีดีรอมมีไหม โดยตอนที่เครื่องบูตนั้น เราสามารถกดปุ่ม pause เพื่อหยุดการทำงานชั่วขณะเพื่ออ่านค่าเหล่านั้นได้นอกจากนี้เรายังสามารถใช้โปรแกรมช่วยทำการดู
สเปคคอมพิวเตอร์ให้เราได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันก็คือ CPU-Z สามารถดาว์นโหลดได้ที่ http://www.cpuid.com/cpuz.phpโปรแกรมจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบรายละเอียดของคอมพิวเตอร
์ให้เราทราบได้เราก็สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าส่วนใดควรปรับปรุงแก้ไขหรืออัพเดทให้เหมาะสมกับการใช้งานของระบบได้
หากไม่มีโปรแกรม เราก็สามารถใช้ Windows ทำการตรวจสอบให้ได้ แต่ข้อมูลอาจะน้อยไปนิด แต่ก็พอทำให้เราทราบได้คร่าวๆบ้าง โดยการไปคลิ้กขวาที่ My computer และเลือก Properties จากนั้นดูในส่วนรายละเอียดของคอมพิวเตอร์

1.ต้องรู้ยี่ห้อและรุ่นของ CPU ? ซึ่งจริงก็มีสองยี่ห้อ Intel กับ AMD ทีนี้มาดูว่ารุ่นไหน มีเยอะเลยหละ ตอนนี้ดังๆ Intel ก็มี Pentuim 4 เก่าละไม่แนะนำ อันต่อมาเป็น Pentuim D อันนี้เป็น Dual Core เหมาะกับคนที่ชอบทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่แรงแต่เร็ว ถ้าเงินยังเหลือก็นี่เลย Core2 Duo ดีกว่า เร็วกว่า แพงกว่า ส่วนฝั่ง AMD ถ้าราคาประหยัดก็ Sempron ถ้าดีหน่อยก็ Athlon ดีขึ้นไปอีกก็ Athlon x2 (Dual Core) ราคาตามความเร็วที่ได้รับ ถามว่ายี่ห้อไหนรุ่นไหนดี ชั่วโมงนี้ต้องบอกว่า Intel Core2 Duo สถานเดียว เว้นแต่งบจำกัด อันนี้ก็ต้องมาเลือก Athlon ซัก 3000+ กำลังสวย งบไม่บานปลาย

2.ต้องรู้ว่าใช้ RAM แบบไหน ความจุเท่าไร ? แรมมีสองแบบ DDR เฉยๆหรือ DDR1 กับ DDR2 อีกไม่นานจะมี DDR3 ซึ่งก็ขึ้นกับเมนบอร์ดว่ารองรับแบบไหน ถ้าเลือกได้เล่น DDR2 ไปเลยดีกว่า ต่อมาก็มาเลือกว่าจะเอาแบบ Dual Channel หรือ Single ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่ดี ก็เลือกตัวแรก ถ้าประหยัดๆไม่ได้ใช้งานอะไรมากมายก็เล่นอันหลังง่ายๆ ถามต่อว่าแล้วขนาดซักเท่าไรดี ตอบง่าย 512MB up เพราะ WIndows บริโภคแรมเป็นขนมหวานเลยทีเดียว นี่ขนาด XP นะ ถ้า Vista ออกมาจริงๆคงต้อง 1GB Up อีกแน่นอน รับรองได้ ถามต่อแล้วยี่ห้อไหนดี เอาแบบ Well known ก็ต้อง Kingston ไม่ก็ Kingmax อีกตัวที่อยากแนะนำ Simtronics แรมอินเดีย การประกันดีครับ ลองมาแล้ว เอาแบบที่มีกล่องมีประกันนะ พวก Synnex Ingram Com7 Dcom พวกนี้ไว้ใจได้ พวกที่เป็นแถวๆเรียงอยู่ในกระบะ ไม่ค่อยแนะนะ ประเภทตาดีได้ ตาร้ายเสีย(เงิน) แถมสมัยนี้ยังมีแรมปลอมให้ได้ปวดหัวเวลาเลือกซื้ออีก อยากรู้ว่าปลอมไม่ปลอมให้ลองไปศึกษาตามที่นี่ http://www.overclockzone.com/spin9/review/memory/kingston/verify/index.html

3.ใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร ? เมนบอร์ดมีหลายยี่ห้อ ปัจจุบันถ้าเป็นพิมพ์นิยมกันก็ ASUS อ่านว่า "อัซ-ซุส" ผมยังเรียกติดว่า "เอ-ซัส" ส่วนถ้าแบบประหยัดก็ ASrock ก็พอใช้ได้ ส่วนยี่ห้ออื่นก็มีพวก Gigabyte, MSI, Abit, DFI ประสิทธิภาพไม่ค่อยต่างกันมาก อันนี้เทียบรุ่นใกล้เคียงกันนะ ต่างกันตรงลูกเล่นกับ option มากกว่า อยากให้ดูตรงประกันมากกว่า ว่าเป็นของอะไร ถ้าพวก Dcom Com7 Synnex พวกนี้จะดีหน่อย มีปัญหามาเคลมง่ายไม่งอแงกับลูกค้า อันต่อมาก็คือ socket ก็ขึ้นกับ cpu อีกแหละ ถ้าเป็น Intel ก็ 775 อันเดียว จบข่าว แต่ถ้าเป็น AMD ก็ต้องดูว่าเป็น 939 หรือ 940 (AM2) เพราะมันใช้ร่วมกันไม่ได้ ต้องดูให้ดี ที่เหลือก็พวก Option ต่างๆ บนบอร์ด จะเอา support dual channel RAM ไหม จะเอา SLI (การ์ดจอคู่) หรือเปล่า

4.ฮาร์ดดิสค์ที่ใช้เป็นแบบ IDE หรือ SATA ความจุเท่าไร ? ที่ให้ดูตรงนี้เพราะเมนบอร์ดบางอันมันมี IDE แค่ Port เดียว ดังนั้นหมายความถ้าเราเอาไปต่อ CD-ROM แล้ว เราก็จะไม่เหลือเอาไปต่อฮาร์ดดิสค์อีก อ้าว..แล้วไหนว่า IDE มันต่อได้ 2 อันต่อ 1 เส้นละ ถูกต้อง... แต่ถ้าเอาไปต่อซีดีรอมตัวหนึ่งแล้วก็ต่อฮาร์ดดิสค์อีกตัวหนึ่งในเส้นเดียวกัน ฮาร์ดดิสค์มันจะวิ่งที่ความเร็วต่ำกว่าที่ควรจะเป็น คือมันจะไปวิ่งที่ความเร็วของซีดีรอมแทน อันนี้ต้องระวัง ฉะนั้นก่อนเลือกดูให้ดีกว่า ถ้าเมนบอร์ดมันมี IDE สอง Port โอเคเล่นได้ แต่ถ้าไม่ ต้องไปเล่น SATA แทนแล้วหละ ราคาไม่ต่างกัน เลือกยี่ห้อไหนดี ตอบยี่ห้อไหนก็ได้ ที่ประกันนานๆ ซัก 5 ปี กำลังดี แล้วความจุหละ นี่ก็ง่ายๆเลย เอาราคาตั้ง หารด้วยจำนวน จะได้ออกมาก อันไหนถูกสุดเลือกอันนั้น หรือถ้าไม่ได้ต้องการมาก ก็เอาน้อยที่สุดที่มีขาย รับประกันว่าถูกแน่ๆ แต่คุ้มหรือเปล่าอีกเรื่อง ต้องกลับไปหารกันแหละถึงจะรู้ว่าคุ้มหรือเปล่า

5.การ์ดจอที่ใช้เป็นแบบ AGP หรือ PCIe ยี่ห้อ รุ่น อะไร ? ก่อนจะดูถึงตรงนั้นดูก่อนว่าเป็นแบบ on-board หรือว่าแยก แน่นอน แยกดีกว่า แพงกว่า แต่ถ้าไม่จำเป็น หมายถึงไม่ได้เล่นเกมส์อะไรโหดร้ายมากนัก ก็ไม่จำเป็น เก็บเงินไว้ทำอย่างอื่นดีกว่า ถ้าจะเอาแยกก็ต้องดูงบว่าเท่าไร การ์ดจอมันแบ่งเป็นระดับๆ ล่างก็พวก Nvidia Geforce 6200,7300 หรือ ATI Radeon X1300 ประมาณนี้ ส่วนกลางๆก็พวก Geforce 6600,7600 กับ Radeon X1600, สูงกว่านั้นเริ่มเว่อร์ละ คงไม่พูดถึง ส่วนยี่ห้อไหนก็แล้วแต่ชอบ เพราะไม่ต่างกันมาก ส่วนใหญ่ผู้ผลิตเขาก็ทำ OEM มาให้เหมือนกันหมดอยู่แล้ว มีบ้างที่เอาไปทำเอง ส่วนแบบไหน ส่วนมากปัจจุบันเมนบอร์ดจะรองรับ PCIe อย่างเดียวเกือบจะหมดละ ไม่ต้องเลือกก็ว่าได้ ฟันธง

6.จอภาพ แน่นอนหละ ต้อง LCD แน่ๆอยู่แล้ว ชั่วโมงนี้คงไม่มีใครคิดซื้อ CRT คำถามต่อมาคือขนาดเท่าไรดีหละ 17" 19" หรือ มากกว่า (แพงกว่า) ตอบ: ถ้าเงินเหลือก็ 19" ก็ดี ใหญ่ๆไว้ก่อนดีกว่า คำถามต่อมา แล้วเอา Wide หรือไม่ Wide ดีกว่า อันนี้ต้องตอบว่าแล้วแต่ชอบ ชอบเอาไปทำไร ถ้าเล่นเกมส์ก็เอาสี่เหลี่ยมธรรมดาแหละ ถ้าดูหนังบ่อยๆก็ต้อง Wide อยู่แล้ว ยี่ห้อหละ? มีให้เลือกเยอะพอๆกัน ดูที่รูปทรงที่ชอบ ความคมชัด สวยงามของภาพที่เห็นดีกว่า สบายตา สเปคไม่ต้องสนใจมากหรือพวก contrast ฯลฯ เชื่อไม่ค่อยได้หรอก วิธีวัดยังไม่เหมือนกันเลย สุดท้ายก็ดูเรื่องประกันให้ดี ใครประกัน แล้วประกันนานเท่าไร เสียเคลมที่ไหนยังไง ศูนย์บริการอยู่ตรงไหน

7.จิปาถะ หมายถึงอื่นๆ เช่นคีย์บอร์ด เมาส์ เอามีสาย ไร้สายดีไหม ลำโพง เอาแบบ 5.1 ดีไหม หรือเอาแค่ 2.1 พอ เคสหละเอาแบบหรู อลูมิเนียมไหม หรือว่าเอาแบบถูกๆพอใช้ได้ อันนี้แล้วแต่งบประมาณและความชอบ หรือเอาไว้ค่อยซื้อทีหลังก็ได้ ถ้ามีเงิน
ทั้งหมดที่กล่าวมาพอสรุปได้คร่าวๆว่า ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเอาคอมพิวเตอร์ไปทำอะไร เล่นเกมส์ ดูหนัง ร้องเพลงคาราโอเกะ พิมพ์งาน หรือยังไม่รู้ อยากได้ไว้ก่อน เอาไปทำอะไรไม่รู้ ไม่รู้อะไรเลย .... จากนั้นก็มาดูเรื่องของงบประมาณ ถ้าตอบไม่รู้อีกแสดงว่ารวยจัด อันนี้ต้องรู้อยู่แล้ว ส่วนมากก็อยู่ที่ 20,000 - 30,000 บาทเสียเป็นส่วนใหญ่ ต่อไปก็เริ่มมากำหนดสเปคกัน อันนี้จะนานหน่อยเพราะกว่าจะลงตัว ดูราคาจากใน web ก่อนก็ได้มีหลายอันอยู่เหมือนกัน เป็นราคากลางๆ บวกลบกันได้ ทางที่ดีไปเดินดูที่จะซื้อซักรอบก่อนก็ได้ ไม่ต้องรีบ ซื้อมายังไงวันนี้ พรุ่งนี้ก็ตกรุ่น ราคาตก ปกติโลกไอทีอยู่แล้ว จากนั้น็ค่อยไปเริ่มซื้อ เริ่มประกอบ จะให้เขาประกอบให้ หรือเลือกมาประกอบเองก็แล้วแต่ความชอบและความชำนาญ จากนั้นก็ลงOS ลงโปรแกรม เป็นอันจบ

RAM

RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่มีใช้งานในคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง ลองเปิดฝาเคสดูก็จะพบได้ทันที มีลักษณะเป็นแผงเล็กๆรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดโดยเสียบอยู่กับสล๊อต ซึ่งจะมีสล๊อตมากน้อยเท่าใดนั้น ก็แล้วแต่การออกแบบเมนบอร์ดแต่ละรุ่น ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและเป็นแหล่งพักข้อมูลชั่วคราวเพื่อที่จะส่งไปให้ซีพียูประมวลผลนั่นเอง เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้ว หน่วยความจำก็จะรับข้อมูลกลับมาเพื่อส่งไปให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ต่อไป เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือการ์ดแสดงผล ในด้านของประสิทธิภาพการทำงานนั้น หน่วยความจำจะมีความเร็วสูงกว่าฮาร์ดดิสก์มาก ซึ่งในการใช้งานทั่วไปซีพียูจะอ่านข้อมูลโดยตรงจากตัวหน่วยความจำเลย จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่พีซีทุกเครื่องจะต้องมี ชนิดของแรมมีดังต่อไปนี้SDRAM.jpg

  • Synchronous DRAM (SDRAM) เริ่มใช้เมื่อปี 1998 โดย Intel ได้ออกแบบ Chipset ให้รองรับการใช้งานร่วมกับแรมแบบ SDRAM โดยเราจะสังเกตุบนตัวแรมจะมีอักษรคำว่า PC แล้วตามด้วยตัวเลขสามตัวคือ 100 และ 133 ซึ่งก็คือความเร็วของแรมทั้งสองแบบคือ PC100 และ PC133 คือทำงานที่ความเร็ว 100 MHz และ 133 MHz ปัจจุบันยังพอมีให้เห็นที่ใช้อยู่เมนบอร์ดรุ่นเก่าบ้าง แต่เริ่มหาซื้อยากเพราะตลาดของแรมถูกแทนที่ด้วยแรมแบบใหม่คือ DDR นั่นเอง วิธีสังเกตุว่าแรมเป็น sdram อีกประการก็คือให้ดูตรง mark หรือรอยบากของแรม SDRAM จะมีสองจุด ส่วน DDR จะมีแค่จุดเดียว

ddr2.jpg

  • DDR SDRAM หรือเรามักเรียกย่อๆว่า DDR คำว่า DDR ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่จะเข้ามาแทนที่ SDRAM ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก DDR ได้รับการพัฒนา และ ยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ SDRAM โดยทั่วไปจะมีการโอน ถ่ายข้อมูลเพียงครั้งเดียวในหนึ่งลูกของสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่ DDR สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2 ครั้งในหนึ่งลูกของสัญญาณนาฬิกา พูดง่ายๆคือสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ SDRAM แบบเก่าทำให้ได้ชื่อว่า Double Data Rate นั่นเอง

444.jpg
เนื่องจากการทำงานที่เร็วกว่า SDRAM ถึงสองเท่า ตัวเลขบอกความเร็วอาจะเรียกได้สองแบบ แบบแรกเรียกตามความเร็วของแรมคือ DDR266 (266 = 133x2), 333(166x2), 400 (200x2) ซึ่งตัวเลขจะบอกความเร็วของแรมนั่นเอง หรือบางทีอาจเรียกตามอัตราการรับส่งข้อมูลคือ PC2100(DDR266), PC2700(DDR333), PC3200 (DDR400) ซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับตัวเลขก่อนหน้านี้นั่นเอง

lipumoxd9xx6.jpg
  • DDR2 SDRAM นั้นก็คือหน่วยความจำในยุคที่สองของ DDR SDRAM (Double Data Rate Synchronous Dynamic Random-Access memory) นั่นเอง ซึ่งในตลาดพีซีของปี 2005 นี้เริ่มมีแพลทฟอร์มออกมารองรับตัวหน่วยความจำ DDR2 กันมากขึ้น โดยหน่วยความจำแบบ DDR2 มีแนวโน้มถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เป็นที่ทราบกันดีว่าโพรเซสเซอร์ในปัจจุบันทำงานด้วยความเร็วที่สูงมาก มากจนผู้ใช้ตามกันแทบไม่ทัน และเพื่อเป็นการรองรับกับประสิทธิภาพอันสูงส่งในการประมวลผลของโพรเซสเซอร์นั้น การเลือกใช้หน่วยความจำ DDR2 จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการเพิ่ม แบนวิดท์ ให้กับระบบได้เป็นอย่างดี

ddr1ddr2.jpg


ข้อแตกแต่งระหว่าง DDR SDRAM กับ DDR2 SDRAM ก็คือรอย Mark ที่ไม่ตรงตำแหน่งกันของแรมทั้งสองแบบเพื่อป้องกันการใช้งานผิดชนิด เพราะมันจะไม่สามารถใส่สลับกานได้เลย อีกประการหนึ่งคือจำนวนของขาสัญญาณที่ไม่ตรงกัน กล่าวคือ DDR จะมีขาสัญญาณน้อยกว่า DDR2 คือ 184 ขาต่อ 240 ขานั่นเอง ปัจจุบันยังคือมีแรมทั้งสองแบบใช้กันอยู่ ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดว่ารองรับแรมชนิดไหน หาต้องการซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าแรมที่ใช้เป็นแบบใด


ddr1vsddr2.jpg


รูปแบบการติดตั้ง RAM ทั้งที่เป็น DDR และ DDR2 มีอยู่สองแบบคือ Single channel หมายถึงตัวเมนบอร์ดรองรับการทำงานของแรมแบบ Single Channel ไม่ว่าจะติดตั้งแรมแถวเดียวหรือมากกว่าหนึ่งแถว แรมก็ยังคงทำงานแบบแบบ Single channel อยู่ตลอดเวลานั้นเอง กราฟที่เห็นเป็นการวัด Bandwidth ของแรมที่ทำงานแบบ Dual Channel และ Single Channel


dual.jpg


ส่วนเมนบอร์ดที่รองรับการทำงาแบบ Dual Channel คือต้องใส่แรมเป็นคู่ตามตำแหน่งที่บริษัทผู้ผลิดเมนบอร์ดกำหนด ซึ่งต้องเปิดคู่มือเมนบอร์ดดูเอาว่าใส่แบบใดจึงจะทำงานแบบเป็น Dual Channel โดยเราจำเป็นต้องใช้แรมอย่างน้อย 1 คู่ แรมจึงจะทำงานในแบบ Dual Channel ถ้าติดตั้งเพียงแถวเดียวก็ถือว่าเป็นการทำงานแบบ Single channel แม้ว่าเมนบอร์ดจะรองรับการทำงานแบบ Dual Channel จะต้องติดตั้งเป็นคู่เท่านั้นแรมจึงจะทำงานในลักษณะ Dual Channel วิธีตรวจสอบว่าเราติดตั้งถูกต้องและแรมสามารถทำงานได้ในลักษณะ Dual Channel ให้สังเกตุดูตอนเครื่องทำการบูต ดูคำว่า Dual Channel ว่ามีปรากฎที่หน้าจอหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่าทำงานแล้ว ถ้าไม่ก็ต้องกลับไปตรวจสอบว่า ใส่แรมไม่ถูกต้องหรือเปล่า ส่วนความเร็วในการใช้งานของแรมแบบ DDR2 นั้นก็มีตั้งแต่ 400, 533, 667, 800 ให้เลือกใช้ตามความเร็วที่ต้องการ

ข้อควรปฏิบัตอีกประการก็คือ แรมที่ติดตั้งในแบบ Dual Channel ควรจะเป็นแรมรุ่นเดียวกันยี่ห้อเดียวกันเท่านั้น การทำงานของแรมทั้งสองแบบขึ้นกับชนิดของ CPU และเมนบอร์ดว่ารองรับการทำงานแบบใด ต้องตรวจสอบกับเอกสารของผู้ผลิตเมนบอร์ดเป็นสำคัญ ส่วนที่แตกต่างกันที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ bandwidth ในการส่งถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนั่นเองส่วนขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันควรเริ่มต้นที่ 512MB ขึ้นไป เนื่องจาก Windows XP จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมากในการทำงานนั่นเอง

ทำอย่างไร เมื่อฮาร์ดดิสก์มีปัญหา

ข้อมูลสำคัญของคุณบนฮาร์ดดิสก์จะเป็นอย่างไรหากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่เกิดมีปัญหา นอกจากนี้ CHIP ยังจะบอกให้คุณทราบถึงแนวทางการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย

ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นกลไกและมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ดังนั้นจึงก็มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือทำงานผิดพลาดได้ตลอดเวลา และหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมาอย่างแน่นอนก็คือการไม่สามารถเข้าถึงไฟล์งานหรือแอพพลิเคชันใดๆ ได้อีก ดังนั้น CHIP จะมาแนะนำถึงวิธีที่คุณจะสามารถป้องกันข้อมูลจากการสูญหาย รวมถึงวิธีที่จะสามารถกู้ข้อมูลที่สูญหายไปให้กลับคืนมาได้

ฮาร์ดดิสก์คือองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับเครื่องพีซี เพราะฮาร์ดดิสก์จะทำหน้าที่ในการเก็บเอกสาร ไฟล์งานต่างๆ แอพพลิเคชันทั้งหมด รวมถึงระบบปฏิบัติการวินโดว์สซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมและการทำงานร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด หากคุณเก็บข้อมูลสำคัญสำหรับธุรกิจหรืองานเอาไว้บนฮาร์ดดิสก์และต้องพบกับปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดกับฮาร์ดดิสก์โดยไม่คาดคิด ลองจินตนาการว่าปัญหานั้นจะน่ากลัวเพียงไร หากวันหนึ่งเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วพบข้อความแจ้งว่า “Hard disk install failure” หรือ “Primary master hard disk fail” ข้อมูลทุกอย่างของคุณอาจหายไปในพริบตา แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะยังพอมีความหวังที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นกลับคืนมาได้

ความลับที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ก็คือ ข้อมูลทุกอย่างมักจะยังถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์บนฮาร์ดดิสก์ เพียงแต่จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้เพราะปัญหาเกี่ยวกับดัชนีของดิสก์ (Disk Index) ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลว่ามีข้อมูลอะไรถูกบันทึกอยู่บนฮาร์ดดิสก์บ้าง และเมื่อ Disk Index มีปัญหา ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นข้อมูลจริงๆ ที่ถูกเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ได้ โชคดีที่ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ข้อมูลที่สามารถกู้ข้อมูลต่างๆ ของคุณกลับคืนมาได้ แต่โชคร้ายก็คือสนนราคาสำหรับค่าบริการในการกู้ข้อมูลนั้นบางครั้งอาจไม่คุ้มกับข้อมูลที่สูญหายไป

คำแนะนำและเทคนิคต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ได้ หรือในกรณีที่คุณไม่สามารถเข้าไปใช้งานข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ได้ เราจะแนะนำให้รู้จักกับซอฟต์แวร์ที่สามารถกู้ข้อมูลกลับคืนมาให้คุณได้

ค้นหาสาเหตุ : ฮาร์ดดิสก์เสียหายได้อย่างไร?
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส ปัญหาเรื่องไฟตก การทำงานผิดพลาดของซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ความผิดพลาดจากการใช้งานของผู้ใช้เอง หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องการก่อวินาศกรรมต่างๆ และเพื่อให้เข้าใจกับลักษณะปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานภายในของฮาร์ดดิสก์รวมถึงโครงสร้างและวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเสียก่อน

ฮาร์ดดิสก์จะถูกออกแบบมาให้อยู่ในกล่องเหล็กที่ถูกปิดผนึกอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปรบกวนการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แนะนำว่าไม่ควรทดลองเปิดผนึกส่วนต่างๆ ของฮาร์ดดิสก์ออก เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณเสียได้เช่นกัน หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น แผ่นจานแม่เหล็กจะถูกยึดอยู่กับแกนหมุนตรงกลางซึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับมอเตอร์ และหัวอ่าน-เขียนจะถูกยึดอยู่กับแขนกลที่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยฮาร์ดดิสก์จะหมุนอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่ โดยจะหมุนด้วยความเร็ว 5,400 หรือ 7,200 รอบต่อนาที

วิเคราะห์ปัญหา : ความเสียหายทางด้านกายภาพ
การทำงานของเครื่องเล่นแผ่นเสียงนั้น หัวอ่านจะสัมผัสกับพื้นผิวของแผ่นเสียง เพื่อที่จะแปลงข้อมูลจากร่องเล็กๆ ให้ออกมาเป็นเสียง แต่สำหรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว หัวอ่าน-เขียนจะไม่ได้สัมผัสกับแผ่นจานแม่เหล็กโดยตรง แต่หัวอ่าน-เขียนนี้จะเลื่อนไปมาโดยมีระยะที่ห่างกับพื้นผิวของแผ่นจานแม่เหล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บริเวณพื้นผิวของแผ่นจานแม่เหล็กจะมีสารแม่เหล็กเคลือบอยู่ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารแม่เหล็กเหล่านั้น สำหรับการอ่านข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่นั้น ก็จะใช้วิธีการตรวจสอบสถานะของสารแม่เหล็กในบริเวณดังกล่าว โดยหัวอ่าน-เขียน จะทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ด้านบนของพื้นผิวนั่นเอง

หากมีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ทำให้หัวอ่าน-เขียนไปสัมผัสโดนแผ่นจานแม่เหล็ก จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาใหญ่คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่จะเกิดความเสียหาย เนื่องจากแผ่นจานแม่เหล็กนั้นจะหมุนด้วยความเร็วสูง ดังนั้นหัวอ่านที่สัมผัสกับพื้นผิวของจานแม่เหล็กก็จะทำลายพื้นผิวและข้อมูลต่างๆ จำนวนมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาใหญ่คือ “ฮาร์ดดิสก์เสีย”

แน่นอนว่า หากแผ่นจานแม่เหล็กที่อยู่ภายในถูกทำลายโดยการเผาไฟ หรือน้ำท่วม หรือถูกทำลายด้วยความจงใจหรือวินาศภัยแล้ว ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ก็จะสูญหายไปด้วยเช่นกัน

ส่วนประกอบอื่นๆ ที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์ เช่น มอเตอร์ หัวอ่าน แขนกล และแผงวงจร ก็อาจจะเกิดความเสียหายทางด้านกายภาพได้เช่นกัน ชิปที่ควบคุมการทำงานของมอเตอร์หรือหัวอ่านอาจจะเกิดความเสียหายจากปัญหาไฟตกหรือไฟกระชาก แต่อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้สามารถเปลี่ยนทดแทนได้ โดยที่ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่บนจานแม่เหล็กยังคงอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น คุณจึงสามารถนำข้อมูลกลับคืนมาได้เช่นกัน

สำหรับการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์นั้น จะต้องเปิดผนึกฮาร์ดดิสก์ออกมา ซึ่งจะต้องทำภายใน Clean Room เท่านั้น และขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีเท่านั้น


เสียหายจากภายใน : ความเสียหายแบบโลจิคอล
โครงสร้างทางด้านโลจิคอลของฮาร์ดดิสก์จะหมายถึงวิธีการในการบริหารการจัดเก็บข้อมูลที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับการจัดโครงสร้างของข้อมูลภายในหนังสือ ซึ่งเมื่อคุณเปิดหนังสือขึ้นมา ก็จะพบกับส่วนของสารบัญ และข้อมูลจริงๆ ที่อยู่ข้างในหนังสือ โดยสารบัญนั้นจะเป็นเครื่องบ่งบอกว่า คุณจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงที่ถูกเก็บอยู่ในหนังสือได้ในหน้าใด

สำหรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น จะมีการแบ่งพื้นที่เป็น System Area (คล้ายๆ กับสารบัญของหนังสือ) และส่วนของ Data Area (เสมือนเป็นเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือ) ซึ่งทำการเก็บข้อมูลที่เป็นไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ทั้งหมดอย่างแท้จริง

ในขณะที่คุณกำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่นั้น คุณอาจจะสร้างเอกสารต่างๆ มากมาย หรือทำการติดตั้งแอพพลิเคชันเพิ่มเติมอีกหลายตัว แอพพลิเคชันแต่ละตัวจะทำงานโดยมีไฟล์ต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบนับร้อยไฟล์ ดังนั้นบนฮาร์ดดิสก์ของคุณจึงมีไฟล์ต่างๆ กระจายอยู่อย่างน้อยก็นับหมื่นไฟล์ทีเดียว

พื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูลนั้นจะถูกจัดเรียงอยู่บนตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแบ่งเป็นแทร็ก (Track) และเซ็กเตอร์ (Sector) ดังนั้นข้อมูลเอกสารหรือไฟล์ต่างๆ ทั้งหมด ก็จะถูกนำไปเก็บอยู่ในเซ็กเตอร์ซึ่งอาจจะเก็บได้พอในเซ็กเตอร์เดียว หรืออาจจะต้องใช้พื้นที่หลายเซ็กเตอร์ในการเก็บไฟล์ข้อมูลหนึ่งไฟล์ (เซ็กเตอร์เปรียบเสมือนตู้สำหรับบรรทุกสินค้าที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลนั่นเอง) โดยบริเวณที่เป็น System Area จะมีการจัดวางโครงสร้าง หรือกำหนดตำแหน่งที่ใช้สำหรับการอ้างอิงถึงพื้นที่ของเซ็กเตอร์และแทร็ก ต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ในเซ็กเตอร์ก็จะถูกอ้างอิงด้วยตำแหน่งเฉพาะของแต่ละเซ็กเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีตารางสำหรับเก็บข้อมูลตำแหน่งต่างๆ อยู่บนพื้นที่ System Area โดยจะถูกเรียกว่า File Allocation Table (FAT) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการบันทึกว่ามีข้อมูลชิ้นใดถูกเก็บอยู่ในตำแหน่งใดของฮาร์ดดิสก์

ดังนั้น เมื่อคุณต้องการที่จะเปิดเอกสารชิ้นใดชิ้นหนึ่งขึ้นมา ระบบปฏิบัติการวินโดว์สจะเริ่มต้นไปค้นหาข้อมูลจาก FAT ก่อนเป็นอันดับแรก และเมื่อพบกับชื่อไฟล์ที่ระบุอยู่ใน FAT แล้ว ก็จะมองหาตำแหน่งแรกบนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกใช้สำหรับเก็บไฟล์นั้น แล้วจึงไปถึงไฟล์ข้อมูลจากตำแหน่งนั้นโดยตรงเพื่อนำข้อมูลส่งไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อนที่จะถูกนำไปประมวลผลและแสดงผลบนจอภาพ หากไฟล์ที่ถูกเปิดขึ้นมามีขนาดใหญ่และกินพื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าหนึ่งเซ็กเตอร์ FAT ก็จะมีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าส่วนอื่นๆ ของไฟล์นั้นถูกบันทึกไว้ในตำแหน่งใด

หากมีปัญหา System Area (และ FAT) เกิดความเสียหายขึ้น หัวอ่านจะไม่สามารถรู้ว่า ไฟล์ข้อมูลที่แท้จริงนั้นถูกเก็บไว้ในพื้นที่ใดของฮาร์ดดิสก์ แต่ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ทั้งหมดนั้นจะยังคงอยู่ในพื้นที่เดิม เพียงแต่คุณไม่สามารถเข้าถึงได้เพราะ System Area เกิดความเสียหายเท่านั้น

ความเสียหายในลักษณะดังกล่าวนี้ จะถูกเรียกว่าความเสียหายแบบโลจิคอล ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ร้ายแรงเหมือนความเสียหายทางด้านกายภาพ ดังนั้นคุณจึงสามารถใช้ซอฟต์แวร์พิเศษบางชนิดในการกู้ข้อมูลต่างๆ กลับคืนมาได้ โดยซอฟต์แวร์เหล่านี้จะทำการอ่านข้อมูลในทุกๆ เซ็กเตอร์ แล้วสร้างรายการข้อมูลทั้งหมดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ปัญหาเพียงอย่างเดียวก็คือ หากไฟล์ข้อมูลบางไฟล์ถูกแบ่งเก็บอยู่ในหลายเซ็กเตอร์แล้ว ซอฟต์แวร์สำหรับกู้ข้อมูลจะไม่สามารถรวมไฟล์เหล่านั้นมาไว้เป็นไฟล์เดียวกันได้ ดังนั้น ไฟล์ข้อมูลของคุณอาจจะถูกแสดงอยู่ในชื่อ 1.doc, 2.doc, 3.doc (หากข้อมูลที่กู้เป็นไฟล์เอกสารเวิร์ด) ซึ่งคุณจะต้องตรวจสอบส่วนต่างๆ ของไฟล์ที่ถูกกู้คืนมาด้วยตัวเอง แล้วจึงนำส่วนต่างๆ ของไฟล์มารวมกันเป็นไฟล์เดียวอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน

ขั้นรุนแรง : ความเสียหายทางกายภาพและโลจิคอล
สำหรับเหตุผลที่สามที่ทำให้ข้อมูลเกิดความเสียหายนั้น อาจมีสาเหตุมาจากความเสียหายร่วมกันทั้งทางกายภาพและโลจิคอลซึ่งจะมีพื้นที่บางส่วนเสียหาย กล่าวคือ เซ็กเตอร์บางส่วนอาจเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการอ่าน-เขียนข้อมูล หรือการถอด-ประกอบฮาร์ดดิสก์ โดยข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในส่วนของเซ็กเตอร์ที่เสียหายนั้นจะสูญหายไปอย่างถาวร ซึ่งซอฟต์แวร์บางชนิดสามารถตรวจสอบพื้นที่เสียหาย และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่อาจทำให้คุณรู้ว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะมีพื้นที่บางส่วนเสียหายก็คือ เมื่อคุณเปิดเครื่องแล้วระบบปฏิบัติการวินโดว์สจะรันโปรแกรม ScanDisk อยู่เป็นประจำนั่นเอง

คุณสามารถใช้ยูทิลิตี้ CHKDSK เพื่อทำการปิดกั้นพื้นที่เสียหายดังกล่าวไว้ไม่ให้สามารถเข้าถึงได้อีก แต่หากฮาร์ดดิสก์ของคุณมีพื้นที่เสียหายอยู่เป็นจำนวนมาก CHIP แนะนำว่าควรเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่เลยจะดีกว่า

ปัญหาพื้นที่เสียหายบนฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ โดยการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี โดยการคลิกปุ่ม Shut Down รวมทั้งควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระชากและไฟตก (UPS with Stabilizer) ไว้ใช้งานด้วย

คุณรู้หรือไม่?
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้ทั่วไปมักเข้าใจว่าเมื่อไฟล์ข้อมูลใดๆ ถูกลบไปแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจะสูญหายไปในทันที แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นจะยังคงถูกเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ เพราะการทำงานที่แท้จริงนั้น เมื่อคุณทำการลบไฟล์ใดๆ ออกไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นเพียงแค่การลบข้อมูลที่ Disk Index เก็บไว้เท่านั้น หมายความว่า พื้นที่ที่ใช้สำหรับเก็บไฟล์ดังกล่าวนั้น พร้อมที่จะให้นำข้อมูลอื่นๆ มาเก็บทับบริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะถูกเรียกว่า “Overwriting” ดังนั้นคุณจึงสามารถใช้ซอฟต์แวร์พิเศษบางตัวในการกู้ข้อมูลเหล่านั้นคืนมาได้ และเช่นเดียวกัน คุณก็สามารถจะกู้ข้อมูลไฟล์ต่างๆ จากฮาร์ดดิสก์ที่ถูกฟอร์แมตคืนมาได้เช่นกัน


Clean Room : ห้องปฏิบัติการพิเศษที่มีระบบตรวจสอบและป้องกันฝุ่นละอองอย่างดีสำหรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนอย่างฮาร์ดดิสก์


โปรแกรมสำหรับป้องกันข้อมูลสูญหาย
ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการกู้ข้อมูลจากหลายผู้ผลิตหลายราย ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย ดังนั้น หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์สเอ็กซ์พีอยู่ ก็จะต้องเลือกใช้เวอร์ชันสำหรับวินโดว์สเอ็กซ์พีด้วยโปรแกรมจึงจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่มักจะมีโปรแกรมดังกล่าวให้เลือกใช้งานได้ไม่ยากนัก ก็ได้แก่ Linux, Unix และ Novell

โปรแกรมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มด้วยกัน โดยใช้สำหรับการป้องกันหรือการแก้ไขปัญหาในลักษณะที่คุณไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดบางส่วน เช่น หากเกิดความเสียหายทางด้านกายภาพหรือแผ่นจานแม่เหล็กเสียหายก็อาจจะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาได้อีก

ก่อนเสียหาย : โปรแกรมในกลุ่มนี้จะใช้สำหรับการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ โดยโปรแกรมจะทำการคัดลอกข้อมูลของ Disk Index ซึ่งถูกเก็บไว้ในพื้นที่ของไฟล์ระบบ (System Area) แล้วนำข้อมูลที่คัดลอกไปเก็บสำรองไว้ในพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล (Data Area) ด้วย หากพื้นที่ไฟล์ระบบเกิดความเสียหาย โปรแกรมจะทำการดึงข้อมูลที่ได้นำไปเก็บไว้ในพื้นที่ไฟล์ข้อมูลมาใช้งานและสร้างไฟล์ Disk Index กลับคืนขึ้นมาใหม่ได้

หลังเสียหาย (การกู้ข้อมูล) : ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการได้อีกต่อไป ซึ่งโปรแกรมในกลุ่มนี้จะใช้สำหรับการกู้ข้อมูลที่สูญหายโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเสียหายทางด้านกายภาพของแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ข้อมูลจะยังถูกเก็บอยู่บนจานแม่เหล็ก แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะไฟล์ Disk Index เกิดความเสียหาย เป็นต้น

แบ็กอัพ : โปรแกรมในกลุ่มนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ในการแบ็กอัพข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ให้โดยอัตโนมัติแล้วเก็บไว้ในสื่อบันทึกอื่นๆ เช่น ดีวีดี หรือฮาร์ดดิสก์ตัวอื่น เป็นต้น ดังนั้นหากมีปัญหาข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์เสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ถูกก๊อปปี้ไว้กลับมาใช้งานได้

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ เกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันข้อมูลและกู้ข้อมูล สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.ontrack.com,/ http://www.stellarinfo.co.in/ หรือ http://www.acronis.com/

วิธีการตรวจหาพื้นที่ดิสก์เสียหาย
ถึงแม้จะมีโปรแกรมต่างๆ จำนวนมากที่สามารถแสดงให้คุณเห็นถึงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้ แต่หากไม่ต้องการใช้โปรแกรมอื่นๆ ที่ต้องไปหาเพิ่มเติมมา ระบบปฏิบัติการวินโดว์สเองก็มียูทิลิตี้ให้ใช้งานได้ โดยมีชื่อว่า Windows Scandisk (คลิกปุ่ม Start -> All Programs -> Accessories -> System Tools) หรือโปรแกรม CHKDSK (Check Disk) เดิมนั่นเอง

สำหรับการใช้งาน CHKDSK ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ที่หน้าเดสก์ทอป คลิกปุ่ม Start -> Run
2. พิมพ์คำสั่ง command ในช่อง run แล้วคลิกปุ่ม OK หรือกดปุ่ม [Enter]
3. ในหน้าต่าง DOS ให้พิมพ์คำสั่ง chkdsk แล้วกดปุ่ม [Enter]
4. หลังจากที่มีการสแกนฮาร์ดดิสก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว CHKDSK จะแสดงรายงานให้ทราบ ให้มองหาคำว่า “bad sectors” ที่อยู่ในรายงาน ซึ่งจะมีตัวเลขแสดงพื้นที่ที่เสียหายระบุไว้
หากมีพื้นที่ที่เสียหายอยู่บนฮาร์ดดิสก์ CHKDSK สามารถที่จะซ่อมแซมพื้นที่ดังกล่าวนั้น โดยการปิดกั้นไม่ให้เข้าไปใช้งานพื้นที่ดังกล่าวอีก ซึ่งวิธีการสั่งให้ทำการแก้ไขนั้น ให้พิมพ์คำสั่ง “chkdsk/f”
เมื่อ CHKDSK แสดงหน้าต่างรายงานผลและดูข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้พิมพ์คำสั่ง “exit” และกดปุ่ม [Enter] เพื่อกลับสู่วินโดว์ส

รู้จักกับ Clean Room
ด้วยเครื่องมือที่มีความแม่นยำสูงและสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมเป็นอย่างดี Clean Room จึงถูกปิดกั้นไว้ไม่ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้แล้ว วิศวกรที่เข้าไปทำงานใน Clean Room ก็จะต้องสวมใส่ชุดพิเศษ รองเท้า เสื้อคลุม หน้ากาก และหมวกคลุม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นผงที่ติดอยู่บนร่างกายและเสื้อผ้าทำให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ในพื้นที่ที่ถูกควบคุม

เพื่อให้มั่นใจว่า Clean Room มีมาตรฐานและคงความสะอาดอยู่ได้เสมอ Clean Room จึงต้องใช้มาตรฐานในระดับสากล ตัวอย่างเช่น ใบรับรอง “Class-100” ซึ่งหมายถึงการรับรองว่า จะต้องมีชิ้นส่วนของฝุ่นผงที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.5 ไมครอน ไม่เกิน 100 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้น พื้นที่ของ Clean Room จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์สำหรับกรองอากาศและกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง และเครื่องมืออื่นๆ ที่จำเป็นเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าแผ่นจานฮาร์ดดิสก์จะต้องสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากแผ่นจานฮาร์ดดิสก์นั้นมีความไวต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ

เทคนิคการป้องกันการสูญเสียข้อมูล
1. ไม่ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในทันทีทันใด แต่ให้ปิดเครื่องโดยใช้เครื่องมือของวินโดว์ส (Start -> Turn Off Computer)
2. เพื่อป้องกันความเสียหายของฮาร์ดดิสก์ที่อาจจะเกิดขึ้น ให้ระมัดระวังการเคลื่อนย้ายที่อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น หากคุณเปิดใช้งานโน้ตบุ๊กอยู่และต้องมีการเคลื่อนที่ ให้ค่อยๆ เคลื่อนด้วยความระมัดระวัง
3. ทำการรันยูทิลิตี้ Windows Disk Defragmenter อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถกู้ข้อมูลที่เสียหายคืนมาได้ง่ายขึ้น
4. หากฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหาย หรือถูกฟอร์แมตโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่าเพิ่งทำการคัดลอกไฟล์ใดๆ หรือทำการติดตั้งโปรแกรมลงไป ไม่เช่นนั้นแล้ว การกู้ข้อมูลกลับมาจะทำได้ยากขึ้น
5. ติดตั้งโปรแกรมสำหรับการป้องกันข้อมูลเสียหายไว้ล่วงหน้า ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะทำการคัดลอกพื้นที่ System Area เก็บไว้ จะทำให้สามารถกู้ข้อมูลที่เสียหายคืนมาได้ง่ายขึ้น
6. หากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบพบฮาร์ดดิสก์ หรือวินโดว์สไม่เริ่มต้นทำงาน ให้ตรวจสอบสายสัญญาณและสายไฟ ลองถอดและต่อเข้าไปใหม่อีกครั้ง
7. ห้ามเปิดหรือถอดส่วนประกอบใดๆ ของฮาร์ดดิสก์ เพราะฝุ่นผงอาจเข้าไปทำลายฮาร์ดดิสก์ได้
8. ห้ามวางอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสนามแม่เหล็กหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ (เช่น ลำโพง) ใกล้กับฮาร์ดดิสก์
9. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูล
10. ทำการแบ็กอัพข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์เก็บไว้ในแผ่นซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ตัวอื่นด้วย โดยแนะนำให้ทำการแบ็กอัพข้อมูลเอกสารที่จำเป็นอยู่เป็นประจำ
11. ปัญหาในเรื่องของกระแสไฟฟ้าอาจทำให้ข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์สูญหายได้ ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับการป้องกันไฟตกหรือไฟกระชากเช่น UPS ที่มีวงจรป้องกัน
12. เลือกซื้อโน้ตบุ๊กที่มีระบบป้องกันการกระแทกฮาร์ดดิสก์ด้วย
13. รันยูทิลิตี้ Windows Scan Disk อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อตรวจสอบพื้นที่เสียหายบนฮาร์ดดิสก์

****************

Sunday, July 15, 2007

Mainboard

เมนบอร์ด หรือ มาเตอร์บอร์ด
ma.jpg

เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ จะติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ด ประกอบด้วย

Picture1.jpg

  • พอร์ต (port) เป็นจุดที่ให้เมนบอร์ดติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็น

    • PS2 สำหรับเชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ด

    • USB สำหรับต่อเครื่องพิมพ์ เม้าส์ Thumbdrive กล้องดิจิตอล

    • Parallel port สำหรับต่อเครื่องพิมพ์

    • Serial port สำหรับโมเด็ม 56K

    • Joystick สำหรับเล่นเกมส์

    • Sound สำหรับต่อสายสัญญาณไปยังลำโพง ไมโครโฟน หรือ Line in

    asrock_DIMMs.jpg

  • สล๊อตหน่วยความจำ (memory slot)

    เป็นซ๊อกเกตบนเมนบอร์ดสำหรับเสียบแผงหน่วยความจำ (RAM) ของเครื่อง ปัจจุบันมีสล๊อตหน่วยความจำใช้กันอยู่สองแบบคือสำหรับ RAM แบบ DDR1 กับ DDR2 ทั้งสองแบบนี้จะใช้สล๊อตหน่วยความจำที่แตกต่างกัน จากรูป สีฟ้าคือสล๊อตหน่วยความจำสำหรับ DDR1 RAM ส่วนสีเหลือและส้มสำหรับ DDR2 RAM


    chipset.jpg

  • ชิปเซต (chipset)
    เป็นชุดของชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, VGA, PCI slot, USB port, Hard disk ปกติชิปเซตมักจะมี Heatsink ติดอยู่เพื่อช่วยระบายความร้อน

    sk.jpg am2.jpg
  • โปรเซสเซอร์ ซ็อกเกต (processor socket)
    เป็นที่ติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งซีพียูแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ก็จะมีซ็อกเกตที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันผู้ผลิต CPU Intel ได้ใช้ซ็อกเกตที่มีชื่อว่า LGA775 ภาพด้านซ้ายมือ ส่วนทางฝั่ง AMD ใช้ Socket AM2 หรือ 940 ภาพด้านขวามือ

    asrock_agijumper.jpg

  • จัมเปอร์ (jumper)
    ใช้สำหรับการปรับแต่งการใช้เมนบอร์ด เช่นกำหนดค่าตัวแปรต่างๆของเมนบอร์ด ซึ่งต้องอ่านคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตเมนบอร์ดมักนิยมให้ผู้ใช้ไปปรับแต่งในตัว BIOS แทนการใช้จัมเปอร์เพื่อความสะดวกรวดเร็วกว่า วงกลมสีแดงคือตัวจัมเปอร์

    pic-agp-pcie.jpg

  • สล็อตการ์ดขยาย (expansion slot)
    เป็นช่องสำหรับเสียบการ์ดหรืออุปกรณ์อื่นเพิ่มเติมเช่น โดย expansion slot จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบดังต่อไปนี้คือ

    • PCI Slot สำหรับใส่อุปกรณ์พวก PCI modem, LAN card, Firewire Card
    • AGP Slot สำหรับใส่การ์ดจอแสดงผลแบบ AGP
    • PCI-X Slot สำหรับใส่การ์ดจอแสดงผลแบบ PCI-X

BIOS.jpg

EEPROM.jpg


  • ชิปไบออส (bios ย่อมาจาก basic imput/output system)
    ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดบนเมนบอร์ด

  • ชิปซีมอส (cmos ย่อมาจาก complementary metal oxide semiconductor)
    ทำหน้าที่เก็บเวลาของระบบและค่าต่าง ๆ ที่ bios ได้กำหนดไว้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไฟมาเลี้ยงจากแบตเตอร์รี่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับซีมอส

10 เทคนิคการใช้ internet Explorer

เพื่อให้การใช้งาน Internet Explorer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีทิปเด็ดให้นำไปลองใช้ดูนะ....

1. การแสดงพื้นที่บน internet Explorer ให้มากที่สุด
ให้กด keyboard F11 เพื่อขยายเต็มหน้าจอ กดอีกครั้งจะเป็นการกลับสู่สภาพเดิม

2. ค้นหาข้อมูลใน web ที่กำลังใช้งาน เราสามารถ search ข้อมูลใน web ที่กำลังเข้าไปดูอยู่ได้ โดยการกด keyboard Ctrl+F

3. ปุ่มใดแทนคำสั่ง back ได้ ปุ่ม Backspace ใน keyboard สามารถใช้ทดแทนคำสั่ง back เวลา surt net ได้

4. ปิด window ให้เร็วดังใจ ใช้ปุ่ม Ctrl+W ใน keyboard เพื่อปิด window ที่กำลังใช้งานอยู่ได้

5. ดู address bar ว่าไปที่ไหนมาบ้าง address bar คือตำแหน่งที่ใช้ในการพิมพ์ url ของ web site ต่าง ๆ เราสามารถดูได้ว่าเคยพิมพ์อะไรไปบ้าง โดยการกดปุ่ม keyboard F4 โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดให้ทราบ

6. save URL ให้เร็วที่สุด คุณสามารถกดปุ่ม keyboard Ctrl+D เพื่อ save ที่อยู่ใน web site ที่คุณดูอยู่ในปัจจุบันได้ (เผื่อคราวหน้าจะได้ เยี่ยมไปแวะชมอีกได้สะดวกไง)

7. ส่ง web ถูกใจไปให้เพื่อน คุณทราบหรือไม่ว่า web page ต่าง ๆ ที่เราแวะเข้าไป สามารถส่งไปให้เพื่อนดูได้ เพียงแค่เลือกเมนู File เลือก Send และเลือกหัวข้อ Page by Email แค่นี้เพื่อนคุณก็จะได้รับ web ที่มีหน้าตาเหมือนกับที่คุณกำลังดูอยู่

8. เลื่อนดูหน้า web อย่างรวดเร็ว ปกติเวลาจะดูรายละเอียดของ web page แต่ละหน้า จำเป็นต้องใช้เม้าส์คลิกลาก ขึ้น-ลง ด้านบนสุด หรือล่างสุด ทำให้ไม่สะดวกนักสำหรับผู้ไม่ถนัดในการใช้เมาส์ ลองกดปุ่ม keyboard ที่ชื่อว่า Home หรือ End ดู คงช่วยอะไรคุณได้บ้าง

9. อยาก save ภาพเป็น wallpaper บางครั้งเราแวะไปเยี่ยมชม web site บางแห่ง แล้วถูกใจในรูปภาพนั้น ๆ และอยากจะนำกลับมาเป็น wallpaper สำหรับโปรแกรม Internet Explorer มีตัวช่วยให้คุณครับ เพียงแค่กด คลิกขวาที่บริเวณภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Set as wallpaper

10. เลื่อนขึ้น-ลง ทีละนิด web page บางหน้าอาจมีความยาวมาก การจะเลื่อนหน้าทีละนิดเพื่ออ่านข้อมูล ถ้าจะใช้เมาส์ บางทีอาจไม่สะดวกนัก ลองใช้ keyboard ปุ่มที่ชื่อว่า Page Up หรือ Page Down หรือว่า แค่เคาะ Spacebar ก้อสามารถเลื่อนลงมากดูรายละเอียดของ web นั้นได้สะดวก น่าจะดีกว่าเยอะเลย .....

CPU (Central Processing Unit)

intel_vs_amd.jpg

ซีพียูหรือภาษาอังกฤษเรียกกว่า Central Processing Unit (CPU) คือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่คิดคำนวน เป็นหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของคอมพิวเตอร์

intel-logo.gifamd.jpg

ปัจจุบันมีผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่อยู่สองรายคือ Intel และ AMD โดยผู้ผลิตแต่ละราย ก็จะมีชื่อเรียก CPU ของตนแตกต่างกัน และยังใช้ชื่อรุ่นที่แตกต่างกัน เพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดด้วย โดยฝั่ง Intel จะแบ่งตลาดออกเป็นสองระดับคือใช้ชื่อ Pentium (เพน-เทียม) สำหรับตลาดกลางถึงบน ส่วน Celeron (เซ-เล-ลอน) สำหรับตลาดล่างราคาประหยัด เช่นเดียวกับทาง AMD ที่ใช้ชื่อ Athlon (แอท-ลอน) สำหรับตลาดบน และ Sempron (แซม-พรอน) สำหรับตลาดล่างราคาประหยัด ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีประสิทธิภาพหรือความเร็วที่แตกต่างกันตามระดับราคาให้เลือก แต่ในปัจจุบัน Intel ได้เปลี่ยนชื่อจาก Pentium ที่เคยใช้มายาวนานและหันมาโปรโมทชื่อซีพียูใหม่ของตนอย่าง Core2 Duo แทน (คอร์-ทู-ดูโอ) ส่วนทาง AMD ก็มี X2 (เอ็กซ์ทู) ซึ่งเป็นซีพียูในตระกลู Dual Core เช่นเดียวกัน

box_cpu.jpg3000+.jpg

สิ่งที่แตกต่างกันอีกอย่างก็คือ เรื่องของหน่วยวัดความเร็วของซีพียู Intel จะใช้หน่วยเป็น GHz (Giga Hertz) เช่น Pentium4 3.0GHz เป็นต้น หมายถึงซีพียูรุ่นนี้มีความเร็วที่ 3GHz นั่นเอง ในขณะที่ AMD ไม่ได้บอกความเร็วเป็น GHz เหมือน Intel แต่กลับใช้ใช้หน่วยวัดที่เรียกว่า PR rate เช่น 3000+ แทน ด้วยเหตุผลทางด้านเทคนิคของ AMD ที่ผลิตซีพียูที่มีสัญญาณนาฬิกาไม่เร็วเท่ากับทาง Intel แต่ AMD เคลมว่ามันมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ CPU จาก Intel ที่ความเร็ว 3.0 GHz เพียงแต่ CPU มีความเร็วจริงแค่ 1.8 GHz เท่านั้น ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลทางด้านการตลาดที่กล่าวมานั่นเอง เพราะคนซื้อมักเข้าใจว่า สัญญาณนาฬิกาสูงๆของซีพียู เป็นตัวบอกประสิทธิภาพของซีพียู ซึ่งจริงๆแล้วก็มีส่วนถูกเพียงครึ่งเดียว ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย แต่ถ้าซีพียูยี่ห้อเดียวกันรุ่นเดียวกัน อันนี้แน่นอนว่าเร็วกว่าย่อมดีกว่าแน่นอน

wma.png

ปัจจุบันการเลือกซื้อซีพียู นอกเหนือจากเรื่องของความเร็วแล้วยังต้องมองถึงเรื่องของประสิทธิภาพ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปรวดเร็ซมาก ประสิทธิภาพของซีพียูไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเพียงอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่นการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมของซีพียูเองด้วย ซึ่งหากต้องการวัดประสิทธิภาพของซีพียู ควรวัดโดยการนำไปทดสอบในการใช้งานจริง แล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลัก จึงจะสามารถตอบได้ว่าซีพียูตัวใดทำงานเร็วหรือช้ากว่าอีกตัว ดังตัวอย่างเป็นการแปลงไฟล์ภาพยนต์โดยใช้โปรแกรม WIndows Media Encoder ซึ่งซีพียูตัวใดใช้เวลาน้อยที่สุดนั่นหมายถึงว่ามีประสิทธิภาพการทำงานดีที่สุดนั่นเอง

p4_as_dab2a.jpg

สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างของซีพียูรุ่นใหม่ๆ คือเรามักจะเห็นว่ามีชิ้นส่วนโลหะปิดทับอยู่บนตัวซีพียู เราเรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า Heat spreader หรือตัวช่วยกระจายความร้อน ซึ่งตวมันจะช่วยเพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสระหว่างซีพียูและ heat sink เพื่อช่วยในเรื่องของการระบายความร้อน อีกทั้งยังช่วยป้องกันการแตกหักของ Core ซีพียูขณะทำการติดตั้งอีกด้วย ซึ่งเราจะพบได้ในซีพียูรุ่นใหม่ๆจากทั้งสองผู้ผลิต

1154511507.jpg

ซีพียูในปัจจุบันได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของซีพียูอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา CPU Dual Core (2 Core) ออกสู่ท้องตลาดโดย Intel มี Pentium D และ Core 2 Duo ส่วนทาง AMD มี Athlon X2 ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลของซีพียูทำให้รวดเร็วขึ้น คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตเองก็มีแผนจะพัฒนา CPU Quad Core (4 Core) ออกจำหน่ายในเวลาอันใกล้นี้

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ HDD.

ความเชื่อที่ 1 :
การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น
การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต
สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

ความเชื่อที่ 2 :
การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์อะไรสักอย่าง
วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด bad sector ได้

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

ความเชื่อที่ 3 :
การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

ความเชื่อที่ 4 :
การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็ กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลใ นการใช้งานจริง
ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 :
ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ
การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

ความเชื่อที่ 6 :
การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้
อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไ ฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

ความเชื่อที่ 7 :
พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

ความเชื่อที่ 8 :
ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน
อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

ข้อเท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิว เตอร์
อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ
แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

ความเชื่อที่ 9 :
ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า
ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้
มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง
หมุนช้าลง

ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน
หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

ความเชื่อที่ 10 :
เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

ข้อเท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

ความเชื่อที่ 11 :
เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้
อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

ข้อเท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป
สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบันเข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

ความเชื่อที่ 12 :
การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

ข้อเท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการ ต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามีการ
เสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 :
ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น
แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

ข้อเท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงใน ช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 :
การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้

ข้อเท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา
หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 :
การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่ 16 :
เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์)
และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรั บการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได ้

ความเชื่อที่ 17 :
เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำร องบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด


สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่อ งบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

เครดิต นิตยสาร QuickPC

Saturday, July 14, 2007

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive)




ฮาร์ดดิสก์ : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบ กระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

สำหรับฮาร์ดดิสก์ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจากฮาร์ดดิสก์ไปเต็มๆ


ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย




ในส่วนของลักษณะการอ่านเขียนข้อมูลภายในไดรฟ์นั้น จะมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือหัวอ่านเขียน(Read/Write Head) โดยหัวอ่านเขียนจะมี จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนจานดิสก์ด้วย สำหรับหัวอ่านเขียนข้อมูลนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะเคลื่อนที่ไปบนจานดิสก์ โดยจะเว้นระยะห่างระหว่าง หัวอ่านเขียนกับจานดิสก์อย่างคงที่ ซึ่งหากฮาร์ดดิสก์ได้รับการกระทบกระเทือนจนระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนกับจานดิสก์ผิดเพี้ยนไป จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่ สามารถทำงานได้เลย แตปัจจุบันฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆจึงได้มีการออกแบบจุดพักหัวอ่านเขียนไว้ด้านข้างเพื่อกันการทระแทกบนจานดิสก์ นอกจากนี้ ด้านหลังของตัวไดรฟ์ยังประกอบไปด้วย อินเทอร์เฟซ (Interface) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับส่ายสัญญาณประเภทต่างๆ แบ่งได้ตาม ชนิดของฮาร์ดดิสก์ เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายในมีอินเทอร์เฟซ IDE, SCSI และ Serial ATA และ ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายนอกมักมีอินเทอร์เฟซแบบ USB และ Firewire ซึ่งทั้งสองแบบนั้นจำต้องมีช่องสำหรับต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเพื่ออาศัยพลังงานในการหล่อเลี้ยอยู่เสมอด้วย

ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)

1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง

2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดยฮาร์ดดิสก์ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว



http://www.quickpc.co.th/quickdata/guide/hdd/HDD/20-1.jpg


วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ทั้งPIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก เห็นได้ชัดเลยว่าการทำงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะในลักษณะงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้งหรือการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment ซึ่งการที่ต้องเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้ง จะทำให้ความสามารถในการทำงานโดยรวมของระบบต่ำลง

โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ประโยชน์ของการใช้ DMA ก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน เพราะเมื่อซีพียูสามารถมุ่งมั่นกับงานของตนเองให้เสร็จโดยไม่ต้องพะวงว่าจะถูกสะกิดรบกวนจากฮาร์ดดิสก์ให้ช่วยทำงาน ก็สามารถทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ระบบโดยรวมมีความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย

3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดยฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา โดยส่วนใหญ่จะนำฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น



4. แบบ Serial ATA
เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ตอนนี้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ก็เริ่มเจอทางตันแล้วเหมือนกัน เมื่ออัตราความเร็วในปัจจุบันทำได้สูงสุดเพียงระดับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ต่างพากันหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อเชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะฮาร์ดดิสก์เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย

และด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวฮาร์ดดิสก์ลงได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วของระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ สำหรับการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในอนาคต นอกจากนี้ Serial ATA ยังแตกต่างจากฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนานอย่างชัดเจน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ฮาร์ดไดรฟ์ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดได้เลย ลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไปได้มาก อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน






ทำไมจึงต้อง Serial ATA
ประสิทธิภาพของการถ่ายโอนข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากอินเทอร์เฟซที่บ่งบอกจุดต่างของค่าความเร็วได้ดี ตั้งแต่ USB, Parallel ATA, Serial ATA และ SCSI ด้วยสมรรถภาพความเร็วที่แกร่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งการใช้งานฮาร์ดดิสก์บนพีซีหรือเครื่องเวิร์คสเตชั่นมักมองอินเทอร์เฟซ Parallel ATA และ Serial ATA เป็นสำคัญ แต่ ณ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อ Parallel ATA จะถูกแทนที่ด้วย Serial ATA ด้วยเหตุผลที่เป็นปัญหาคอขวดอยู่นั้นก็คือมาตรฐานความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลบนคอนโทรลเลอร์ขนาด 40 พิน แม้จะสามารถทำเส้นทางรับ-ส่งเป็น 80 เส้นความเร็วก็ทำได้ไม่เกิน 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ Serial ATA ที่มากับขนาดของสายรับ-ส่งสัญญาณที่น้อยนิดเพียง 7 พิน พร้อมอัตราเร็วขั้นต้นของ Serial ATA ในเฟซแรกที่ 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และสิ่งที่จะมาบดบังรัศมีของ Parallel ATA อย่างเต็มตัวก็คืออีกศักยภาพของ Serial ATA ด้วย Serial ATA II กับมาตรฐานความเร็ว 3.0 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแรงขึ้นอีกเท่าตัว โดยก่อนหน้าที่จะกำเนิด Serial ATA II แบบเต็มตัวนั้นสิ่งที่มาก่อนก็คือการรองรับเทคโนโลยี Native Command Queuing หรือ NCQ ที่มีเฉพาะ Serial ATA เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ได้จากเทคโนโลยี NCQ ก็คือความรวดเร็วในการเรียงชุดคำสั่งแบบใหม่ที่เลือกคำสั่งที่ใกล้ก่อนทำให้สมรรถภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์และระบบเร็วขึ้น (ทำงานคล้ายลิฟท์)

ความแตกต่างของ Parallel ATA และ Serial ATA

สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีการเชื่อมต่อบนมาตรฐาน Parallel ATA นั้นโดยปกติแล้วถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมแบบเก่าที่ออกแบบเหมือนกับฮาร์ดดิสก์รุ่นก่อนๆ สืบทอดกันมา เพียงแต่ปรับเปลี่ยนการทำงานอาทิ ความเร็วรอบการหมุนจานดิสก์ของมอเตอร์จาก 3200 รอบต่อนาที มาเป็น 5400 รอบต่อนาที และจาก 5400 รอบต่อนาที มาเป็น 7200 รอบต่อนาที ปรับเปลี่ยนการส่งข้อมูลจาก PIO มาเป็น DMA และ Ultra DMA โดย DMA ในที่นี้หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ที่แต่ละครั้งสามารถบรรทุกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปสู่แรมได้เลยโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวการทำงานของซีพียู ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า PIO เพราะ PIO นั้นการถ่ายโอนข้อมูลในแต่ละครั้งจำต้องผ่านการประมวลผลจากซีพียูเสียก่อน ส่งผลให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมีความล่าช้ามาก
นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนสายแพจาก 40 เส้น มาเป็น 80 เส้นปรับมาตรฐานจาก IDE ไปสู่ระบบ E-IDE ซึ่งให้ค่าทางประสิทธิภาพการทำงานที่มากกว่าเดิม การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เร็วขึ้นก็จริงอยู่ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาดูแล้วการทำงานที่ยังยึดมั่นอยู่กับสถาปัตยกรรมแบบเก่าบนมาตรฐาน Parallel ATA มักทำให้ฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ E-IDE ยังห่างไกลจากระบบของ SCSI ของระบบเครือข่ายอยู่ดี อีกทั้งการพัฒนาของระบบ E-IDE ยังเป็นปัญหาคอขวดที่ไม่สามารถพัฒนาให้เร็วพอได้ เช่น 33 เมกะไบต์ต่อวินาที, 66 เมกะไบต์ต่อวินาที, 100 เมกะไบต์ต่อวินาที, 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้นต่างกันไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการถ่ายโอนข้อมูลแบบ SCSI ที่เป็นแบบ Ultra160 เมกะไบต์ต่อวินาที, Ultra 320 เมกะไบต์ต่อวินาที ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ทั้งหลายจึงได้คิดค้นที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Serial ATA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการถ่ายโอนข้อมูล

การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA

0------------>
0------------>
0------------>
0------------>
1------------>
0------------>
1------------>
1------------>

การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA นั้นจะส่งข้อมูลในแต่ละบิตแบบขนานกันไปแล้วนำข้อมูลที่ได้ในแต่ละสายสัญญาณมารวมกันเป็น (0 0 0 0 1 0 1 1 ) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลในระบบแบบเก่าจนถึงปัจจุบันที่ก็ยังเป็นแบบ IDE และ E-IDE โดยใช้สายนำสัญญาณแบบ 40 เส้นและ 80 เส้น

การส่งข้อมูลแบบ Serial ATA

0 0 0 0 1 0 1 1 ------>
0 0 0 0 1 0 1 1 ------>

หากเป็นการส่งข้อมูลในแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วตีคู่ SCSI โดยใช้สายสัญญาณ 7 เส้น ช่วยให้ระบบการทำงานสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และต่อไปความเร็วจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 3.0 กิกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่าในอนาคต อีกทั้งในปัจจุบันอินเทอร์เฟซนี้ยังแฝงไว้ด้วยเทคโนโลยี NCQ ที่ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ฉลาดขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลเพราะส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยหากเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะเข้าหาก่อนโดยไม่สนใจเรื่องคิวรันกันต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้เลยว่า คุณสมบัติของอินเทอร์เฟซ Serial ATA นั้นมีการทำงานที่เร็วกว่า Parallel ATA อีกทั้งต่อไปอินเทอร์เฟซนี้จะเป็นแกนหลักบนเมนบอร์ดแทนที่ IDEและ E-IDE ซึ่งเหมาะสมทั้งการใช้งานบนเครื่อง PC และ ระบบเครือข่ายขนาดย่อมที่มีงบประมาณไม่มาก หากคุณได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปครับ

เทคโนโลยี Native Command Queuing (NCQ)

สำหรับอินเทอร์เฟซ Serial ATA จัดเป็นเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงและกำลังจะกลายเป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานบนฮาร์ดดิสก์ของพีซีในปี 2005 ซึ่งเทคโนโลยี Native Command Queuing เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกระบวนการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับฮาร์ดดิสก์ปี 2005 ด้วยเช่นกัน
โดยเทคโนโลยี NCQ จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ด้วยความสามารถในการปรับปรุงและจัดเรียงชุดคำสั่งใหม่ทั้งในกระบวนการอ่านและบันทึกข้อมูล เพื่อให้ไดรฟ์มีความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สมมติว่าข้อมูลชุดเดียวกันมีการกระจายข้อมูลอยู่เต็มฮาร์ดดิสก์ไปหมด การเรียกใช้งานจึงเริ่มจาก 4 – 3 – 2 และ 1 ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมาจนครบมักเกิดความล้าช้าไปพอสมควร แต่ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ Serial ATA ตัวนั้นมีเทคโนโลยี NCQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฟสแรกของ Serial ATA II และสามารถใช้งานร่วมกับ Serial ATA 1.0 ได้ กระบวนการทำงานจะมองว่าหากข้อมูลชุดนั้นเป็นชุดเดียวกัน จะรวมเอาจุดที่ใกล้กันไว้ก่อนโดยตัดลำดับความน่าจะเป็นออกไป ทำให้ว่องไวต่อการเรียกใช้งานมากขึ้น

http://www.quickpc.co.th/quickdata/guide/hdd/HDD/3.jpg


จากที่กล่าวมาเป็นความแตกต่างระหว่างอินเทอร์เฟซ ซึ่งในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เราจะเลือกเพียงแค่จุดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องมององค์ประกอบทางด้านอื่นๆด้วย อันได้แก่

ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
เรื่องขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์นี้ค่อนข้างตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งมีตัวเลขที่ระบุไว้ตามลาเบลไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันขนาดความจุที่มีจำหน่ายกันอยู่ที่ ระดับกิกะไบต์ เช่น 20, 30, 40, 60 ไปจนถึง 400 กิกะไบต์ แน่นอนเมื่อปริมาณความจุที่สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาต้องขยับตัวสูงตามไปด้วย สำหรับขนาดที่ ควรจะซื้อหามาใช้ในปัจจุบัน ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ควรเพื่อพื้นที่ไว้ใช้งานมากจนเกินจำเป็น เพื่อประหยัดงบประมาณในกระเป๋าท่าน ได้อีกทางและสามารถที่จะใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ได้อย่างคุ่มค้าอีกด้วย

ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบสำคัญไฉนสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนก็คือการหมุนของวงล้อรถหากซอยถี่มากเท่าใด จะย่นระยะเวลาไปยังจุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกันกับฮาร์ดดิสก์ที่เมื่อความเร็วรอบยิ่งถี่เพียงใด จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงหรือค้นหาข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันความเร็วรอบในการหมุนจานดิสก์มมาตรฐานพีซีและแล็บท็อปส่วนใหญ่มาอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (3.5 นิ้ว) และ5,400 รอบต่อนาที (2.5 นิ้ว) นอกจากนี้การใช้งานที่สูงขึ้นไปอีกในระดับเอ็นเทอร์ไพช์อย่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น ความเร็วรอบในการหมุนที่จัดจ้านถึงระดับ 10,000 - 15,000 รอบต่อนาที ดูจะเหมาะกว่า เนื่องจากการใช้งานระดับการเข้าถึงและเรียกใช้มีความสำคัญมาก

หน่วยความจำบัฟเฟอร์
อีกวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอนโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด สำหรับหน่วยความจำแคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปหรือมีการเรียกใช้งานบ่อยครั้ง มาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อน เพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันทีที่ฮาร์ดดิสก์ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด หน่วยความจำแคชนี้ในฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าๆ ราคาที่ถูกมักจะมีขนาดหน่วยความจำเล็กตามลงไป เช่น 128 กิโลไบต์ หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512 กิโลไบต์ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา(ปัจจุบันนิยม) จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้เป็น 2 เมกะไบต์ไปจนถึง 8 เมกะไบต์ เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า การมีขนาดหน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้กลไกการทำงานของฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้นๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่มีการเรียกใช้งานด้วยว่ามีการดึงทรัพยากรของระบบมากน้อยเพียงไร

การรับประกัน
อย่าลืมว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลาที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเคลื่อนไหวต่างๆมากมายอยู่ภายในไดรฟ์และโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบายความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้การเกิดกระแทกแรงๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายที่พบได้บ่อยครั้ง ดังนั้น ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ คือ เรื่องระยะเวลาใน การรับประกัน สินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลม โดยสังเกตจาก Void รับประกัน ซึ่งห้ามแกะออกเป็นเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำให้ท่านเสียใจเพราะส่งเคลมไม่ได้
โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันอยู่ในช่วง 1 หรือ 3 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ผลิตบางราย เช่น Seagate ปรับเปลี่ยนระยะเวลาโดยขยายเป็น 5 ปี จุดนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่มีให้ผู้ใช้อุ่นใจ ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกระยะเวลารับประกันนานหน่อยเพราะคุ้มค่ากว่าการซื้อฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่เราจะนำใช้งานนั้น หาความแน่นอนไม่ได้ วันดีคืนดี ฮาร์ดดิสก์เจ้ากรรมอาจเสียลงไปดื้อๆ หากแต่ว่าฮาร์ดดิสก์ของท่านยังอยู่ในช่วงรับประกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะสามารถส่งซ่อมหรือแลกเปลี่ยนได้ แต่การรับประกันจะไร้ค่าลงไปทันทีเมื่อสัญลักษณ์ของการรับประกันฉีกขาด หรือถูก ลอกออกไป ฉะนั้นควรระมัดระวังไว้ด้วย การรับประกันในที่นี้ก็อาจจะต้องดูด้วยนะครับว่าเป็นการรับประกันจากที่ไหน จากร้านค้า หรือว่าจากดีลเลอร์ต่างๆ โดยจุดนี้ให้ดูถึงความมั่นคงของร้านด้วย ซึ่งถ้าหากร้านเกิดปิดกิจการไปล่ะยุ่งเลยเพราะไม่สามารถที่จะส่งคืนได้

จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเทคนิคการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ที่แม้ไม่ใช้มืออาชีพแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าต้องดูอะไรบ้างในการเลือกซื้อทำให้แนวทางในการเลือกซื้อดูสดใสขึ้นครับ ทว่าฮาร์ดดิสก์ที่เลือกซื้อโดยส่วนใหญ่นั้นเป็น OEM จึงไม่ต้องสนใจกับสิ่งที่แถมมามากนัก(เพราะมันไม่มีมาให้นอกจากไดรฟฺ์เปล่าๆ) นอกจากจำชื่อร้านและตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าให้กับเราไว้ให้ดีเท่านั้น เผื่อมีการติดต่อเมื่อมาส่งเคลมหรือเปลี่ยนสินค้าในภายหลังครับ

บทความ : QuickPC

ประหยัดหมึกพิมพ์ ด้วย 6 วิธีอันชาญฉลาด : PC World





ทำไมเดี๋ยวนี้พรินเตอร์ มันราคาถูกแสนถูกขนาดนี้เนี่ย ผมยังจำได้เลยว่า 7-8 ปีก่อน พรินเตอร์ราคาขั้นต่ำน่าจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาทได้เลยมั้งครับ (จำตัวเลขที่ไม่แน่นอนไม่ได้ เพราะผมซื้อมา 7,000 บาท) จากนั้นผมก็เปลี่ยนพรินเตอร์ไปอีก 2-3 เครื่องได้

ยังจำได้เลยว่าเครื่องพรินเตอร์เครื่องนั้น พิมพ์เร็วได้สูงสุดแค่ 5-6 แผ่นต่อนาทีเองมั้ง แบบ Draft แล้วน่ะ ยิ่งพิมพ์แบบ Normal ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ แผ่นล่ะเกือบนาทีได้ พิมพ์รายงานส่งอาจารย์ที ต้องเผื่อเวลาไว้ด้วย ขืนทำกันแบบร้อนก้นแล้ว พิมพ์เป็นร้อย ๆ แผ่น ส่งไม่ทันแน่ ๆ รอนานเกินไป

แต่ดูตอนนี้สิครับ เครื่องล่าสุดที่ผมซื้อมาใช้ เหลือแค่ 1,590 บาทเท่านั้น ราคาต่ำที่สุดแล้ว ถูกมากๆ ตอนซื้อก็ไม่ได้คิดอะไรครับ แถมปากกา Parker 1 แท่งของแท้ พร้อมกระเป๋าอีก 1 ใบ อีกต่างหาก สุดยอดโปรโมชันเลย (ต้นทุนผลิตจะเหลือเท่าไหร่เนี่ย 500 บาทได้เปล่าอ่ะ) คุ้มครับคุ้ม ซื้อแล้วจ่ายเงินเลย แต่นั่นแหละครับราคาที่ถูก มักจะเป็นกับดักอย่างหนึ่ง หากพิมพ์กันแบบไม่บันยะบันยัง

เพราะคุณต้องไม่ลืมว่า มันก็แฝงความแพงเอาไว้ภายในเหมือนกัน เพราะน้ำหมึก ตลับหมึก และกระดาษพิเศษนั่นแหละ จะเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหวังเอาไว้ภายหลังจากการซื้อพรินเตอร์ไปใช้ เพราะหมึกชุดแรกที่ผมใช้ แล้วพิมพ์ในโหมด Normal โหแป๊ปเดียวหมดเลย เศร้า ต้องไปซื้อตลับหมึกใหม่มา ราคาปาไป 1,000 กว่าบาทได้ เพิ่มเงินอีกนิดหน่อยได้พรินเตอร์เครื่องใหม่เลยน่ะเนี่ย

จากนั้นผมก็เลยต้องควานหาเทคนิคพิเศษ ให้สามารถพิมพ์แบบประหยัด ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์แบบ Draft โหมดด้วยการตั้งค่าเป็น Default เลย หรือเช็กหน้ากระดาษให้ดีๆ แม่นๆ ก่อนพิมพ์ เป็นต้น เลยรวบรวม 6 วิธีการสูตรเด็ด (เหมือนสูตรก๋วยเตี๋ยวเลย) ในการประหยัดหมึกพิมพ์ มาบอกเล่าให้ผู้อ่านทำตามกันบ้างก็ดีครับ

วิธีที่1 ดูให้ดีๆ ก่อนจะพิมพ์งาน: ออกจะบ่อยครั้งไปที่คุณลืมพรีวิว ก่อนสั่งพิมพ์หน้าเว็บเพจ มาถึงปุ๊บเห็นไอคอนพรินเตอร์ปั๊บกดเลย ลืมคิดไปว่า มีอยู่หลายส่วนที่เราไม่ต้องการในหน้าเว็บเพจนั้น หรือแม้แต่พิมพ์ได้ไม่ครบถ้วนด้วย แต่เจ้ากรรมดันพิมพ์ออกมาซะแล้ว เซ็งเลย ดังนั้นวิธีการง่ายๆ ให้คุณไปใช้ฟังก์ชัน Print Preview ดูหน้าเว็บเพจนั้นให้แน่ใจก่อนว่า คุณจะสามารถพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ออกมาได้อย่างครบถ้วน ตามที่ต้องการหรือไม่ และถ้าหากว่าพรินเตอร์ของคุณมีออฟชันที่ฉลาดๆ กับผู้ใช้หน่อย ฟังก์ชัน Print Preview จะมีการถามคุณขึ้นมา ว่าคุณต้องการตัดเนื้อหาทางด้านขวาหรือไม่ เพราะเนื่องจากบางเว็บไซต์จะมีหน้าเว็บเพจทางด้านขวาที่ยาวเกินไป ถ้าจำเป็น คุณก็ปรับเปลี่ยนเลย์เอาต์จากแนวตั้งไปเป็นแนวนอน เพื่อให้ได้ข้อมูลตามต้องการได้ครบถ้วน

ส่วนวิธีทำใน Internet Explorer, Firefox หรือ Opera ก็ง่ายๆ ครับ แค่เปิดหน้าเว็บเพจที่คุณต้องการจะพิมพ์ขึ้นมา จากนั้นคลิ้กที่ File-Print Preview จะมีหน้าต่างขึ้นมาใหม่ โดยภายในจะมีเนื้อหาโชว์ขึ้นมาว่า พรินเตอร์จะพิมพ์เนื้อหาให้เราในส่วนไหนบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกพิมพ์มากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษก็ได้ คุณอาจจะระบุลงไปเลยว่า คุณต้องการพิมพ์ออกมากี่แผ่น ให้คลิ้กที่ปุ่ม Print ที่ด้านบนของหน้า Preview หรือกด Ctrl+P จากนั้นให้ดูผลลัพธ์ที่ Dialog box เลือกหน้าที่ต้องการจะเริ่มและหน้าสุดท้ายที่ต้องการจะพิมพ์ในบ๊อกซ์ Print Range เพื่อบางทีเราไม่จำเป็นต้องพิมพ์ถึงหน้าสุดท้ายก็ได้ครับ

ผู้ผลิตพรินเตอร์ชั้นนำอย่าง Canon จะให้โปรแกรม utility มาพร้อมกับพรินเตอร์ หรือมีโปรแกรมให้ดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยให้การพิมพ์หน้าเว็บเพจมีความเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรม Canon Easy-WebPrint Utility และวิธีการลดปริมาณการใช้หมึกพิมพ์ ให้เลือกที่ปุ่ม Properties และเลือกพิมพ์ในโหมด Draft ภายใต้ Print Quality (ซึ่งค่าต่างๆ เหล่านี้ก็จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตพรินเตอร์แต่ละยี่ห้อ) และถ้าการพิมพ์สีไม่จำเป็นสำหรับคุณ ให้คุณเลือกพิมพ์แบบ Gray scale หรือ Black & White จะดีกว่า จากนั้นคลิ้ก OK ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

วิธีที่ 2 พิมพ์แต่ text ก็พอแล้ว: นี่เป็นวิธีที่ผมชื่นชอบมากที่สุดเลยครับ โดยเฉพาะการพิมพ์ผ่านโปรแกรม PowerPoint ผมตัดรูปภาพ background ออกหมดเลย เพื่อตัดการพิมพ์ในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป หรือแม้แต่ว่า หากคุณต้องการพิมพ์แค่เฉพาะตัวอักษรในหน้าเว็บไซต์นั้นๆ คุณก็แค่ Highlight ที่ตัวอักษร จากนั้นให้คลิ้กที่ File-Print และเลือก Selection ที่อยู่ใต้ Page Range ก็สามารถพิมพ์ได้แล้วครับ แต่หากว่าวิธีนี้ยากไปหน่อย ทำไม่เป็นก็เล่นแบบง่ายๆ เลยคือ ก๊อปปี้อักษรที่คุณต้องการ เปิดโปรแกรม WordPad ขึ้นมา (คลิ้กที่ Start->All Programs->Accessories->WordPad) หรือจะผ่านโปรแกรม Word, Notepad หรือ Text editor ก็ได้เช่นกัน และแปะเนื้อหานั้นลงไปแล้วค่อยพิมพ์ คุณก็จะประหยัดหมึกไปได้อีกมากโข ไม่ต้องพิมพ์หมดทั้งหน้าครับ เป็นวิธีง่ายๆ แต่ไม่ค่อยจะยอมทำกัน อาจจะขี้เกียจก็เป็นไปได้

วิธีที่ 3 ข้ามขั้นตอนการปิดเครื่อง ในแบบที่ควรจะเป็น: ปกติแล้วคุณปิดและเปิดพรินเตอร์ด้วยการดึงสายไฟออกเลยใช่หรือเปล่า ถ้าใช่ล่ะก็ นั่นเป็นความคิดที่ผิดเลยครับ เพราะว่าหัวพิมพ์จะยังไม่กลับไปเข้าที่เดิม จึงมีผลทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้ง่าย และเครื่องก็จะเสียเร็วกว่าปกติ ดังนั้นคุณควรจะปิดหรือเปิดเครื่องที่ปุ่มสวิตซ์ก่อน จากนั้นค่อยดึงปลั๊กออกน่ะครับ แค่นี้ก็ช่วยยืดอายุการใช้งานทั้งพรินเตอร์และหัวพิมพ์ได้แล้ว ไม่ต้องเปลืองเงินค่าซ่อม

วิธีที่ 4 ป้องกันตลับหมึกแห้ง: วิธีการป้องกันตลับหมึกแห้งแบบง่ายๆ เลยคือ นำพรินเตอร์มาพิมพ์ทั้งสีและขาวดำ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง (อันนี้ก็รู้ๆ กันอยู่แล้วไม่ค่อยจะมีใครทำกัน) ก็จะช่วยให้ตลับหมึกของคุณได้ทำงาน เอาหมึกที่ค้างอยู่บริเวณหัวพิมพ์ออกไป แค่นี้ก็ไม่ทำให้หัวพิมพ์ไม่อุดตันแล้วครับ จริงมั๊ยครับ

วิธีที่ 5 อยากใช้หมึกปลอม ก็ดูดีๆ หน่อย: แม้ว่าตลับหมึกแบบไม่มียี่ห้อจะมีราคาถูกกว่าตลับหมึกแท้ จากผู้ผลิตโดยตรงอยู่หลายร้อยก็ตาม แต่ว่าการประหยัดตรงนี้ จะมีผลในเรื่องของคุณภาพการพิมพ์ตามมาด้วย ซึ่งผมแนะนำว่า หากคุณใช้พรินเตอร์พิมพ์เอกสารในโหมด Draft ซะเป็นส่วนใหญ่เหมือนผม การซื้อตลับหมึกยี่ห้ออื่นๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับช่วยประหยัดเงินไปได้อีกเยอะ พอหัวพิมพ์เสีย หรือตลับหมึกเริ่มออกอาการพิมพ์ไม่ค่อยดี ค่อยเปลี่ยนไปซื้อตลับหมึกของแท้มาใช้ ทำแบบนี้ก็จะประหยัดเงินไปได้อีกมาก ทิ้งตลับหมึกอันเก่าไปเลยอย่าไปเสียดาย ขืนเอามาใช้เดี๋ยวได้ซื้อเครื่องใหม่แน่ๆ

ชุดเติมหมึกดูจะเป็นทางเลือกที่ดีในการประหยัดค่าพิมพ์ แต่ว่าเวลาพิมพ์งานออกมามันก็ดูไม่ดีเท่าที่ควร และอีกอย่างก็คือ ตลับหมึกชุดเติมหมึกนั้น จะให้ปริมาณน้ำหมึกที่น้อยกว่าตลับหมึกใหม่ที่มาจากผู้ผลิตโดยตรง นั่นก็หมายความว่าชุดหมึกเติมจะพิมพ์งานได้น้อยกว่าในระยะยาว รวมทั้งคุณภาพที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์งานด้วย และถ้าต้องการเน้นพิมพ์รูปภาพเป็นประจำแล้วล่ะก็ ลงทุนซื้อตลับหมึกแท้ดีกว่าครับ เพราะมันให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าของไม่มีแบรนด์มากๆ แบบเทียบกันไม่ติด แล้วก็คงต้องหาซื้อเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รูปภาพโดยเฉพาะมาใช้งาน จะให้ผลลัพธ์ที่ดีและประหยัดกว่าด้วยครับ

วิธีที่ 6 จ่ายเงินเพียงเล็กน้อย แต่ประหยัดต้นทุนการพิมพ์ที่มากกว่า: ถ้าคุณชอบที่จะหาทางเลือกในการพิมพ์ให้ประหยัดที่สุด ลองดูตรงนี้ครับกับ FinePrint โปรแกรม utility ที่ให้คุณสามารถทดลองใช้งาน ด้วยฟังก์ชันการพิมพ์ 2, 4 หรือ 8 หน้าลงบนกระดาษเพียงแผ่นเดียว ในโปรแกรมนี้ยังมีออฟชันให้คุณเลือกว่าจะพิมพ์ Text สีดำเพียงอย่างเดียว หรือไม่ต้องการพิมพ์กราฟิกก็ทำได้เช่นกัน เพื่อเป็นการประหยัดหมึก แต่ว่าในเวอร์ชันทดลองใช้งานนี้ การพิมพ์งานออกมาทุกหน้าจะมีลายน้ำถูกพิมพ์ออกมาด้วย ซึ่งหากคุณไม่ต้องการลายน้ำอันนี้ ก็ต้องเสียเงินประมาณ 1,750 บาท เพื่อให้สามารถพิมพ์งานได้ตามปกติครับ

เป็นไงครับ ลองใช้วิธีแบบนี้ทำตามดู ก็น่าจะช่วยคุณประหยัดเงินไม่มากก็น้อยนะครับ แต่ผมลองแล้ว ก็เปลี่ยนตลับหมึกน้อยลงได้จริงๆ ครับ ไม่ได้โม้

********************
ขอบคุณความรู้จาก PC World

Friday, July 13, 2007

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ADSL

สิ่งหนึ่งที่อดไม่ได้ที่จะพูดถึงการใช้งาน High Speed ด้วย ADSL MODEM และเป็นสิ่งที่ทางผมได้รับคำถาม เกี่ยวกับความเร็วของการใช้งานว่า เป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง ใช้แล้วคุ้มค่าหรือเปล่า ปัญหาเหล่านี้มีคำตอบให้ครับ..เกี่ยวกับความเร็ว ราคา ระหว่างผู้ใช้งานตามบ้านและองค์กรโดยทั่วไปการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL นี้จะมีการแบ่งประเภทของผู้ใช้บริการออกเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งการจัดแบ่งกลุ่มไว้ดังนี้ จะมีผลต่อความเร็วในการใช้งานจริง ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ให้บริการจะมีการจัดสัดส่วนอย่างไร ตัวอย่างเช่น มีการจัดแบ่งสัดส่วน 1 ต่อ 50 (ที่ความเร็ว 256/128 kbps) นั่นหมายความว่า ถ้ามีผู้สมัครใช้บริการไม่เกิน 50 รายจะมีการปล่อยสัญญาณความเร็วที่ 256/128 kbps ซึ่งจะเป็นการแชร์ความเร็วในการทำงาน ซึ่งผลที่ได้คือ ถ้ามีการใช้งานพร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้การใช้งานค่อนข้างช้าลง แต่ถ้ามีการใช้งานบางส่วนก็จะทำให้ความเร็วดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นี่คือเหตุผลว่า ทำไมราคาอินเตอร์เน็ต High Speed ตามบ้านจึงมีราคาถูกกว่าในองค์กร ** สัดส่วนการใช้งานสำหรับองค์กรอาจอยู่ที่ 1 ต่อ 5, 1 ต่อ 10 หรือ 1 ต่อ 20 ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ให้บริการเป็นหลัก ดังนั้น ก่อนเริ่มสมัครใช้บริการ ควรสอบถามสักนิดดูก่อน อย่างนี้ควรใช้ High Speed หรือไม่หลายคนอาจมองเห็นว่า อย่างนี้ทางผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็ทำไม่ถูก หลอกลวงผู้ให้บริการ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าเทียบกับการใช้งาน modem ธรรมดาที่ความเร็ว 56 kbps นั้น มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังตัวอย่างเช่น
การใช้งาน modem 56 kpbs ก็ไม่เคยได้ความเร็วเต็ม 56 kpbs จริงๆ เช่นกัน
การใช้งาน ADSL เป็นการเหมาจ่าย คุณสามารถเล่นได้ไม่จำกัดเวลา ทั้ง Local และ Inter
การใช้งาน ADSL ไม่จำเป็นต้องเสียค่าโทรศัพท์รายครั้งเพิ่ม
การใช้งาน ADSL สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้พร้อมกัน รายละเอียดเบื้องต้นดังกล่างข้างต้นนี้ พอให้คุณๆ เปรียบเทียบได้แล้วน่ะครับว่า ยังไงก็คุ้มค่า ถึงแม้ว่าความเร็วในการใช้งานจะไม่แน่นอนก็ตาม แต่ถ้าสนใจความเร็วที่คงที่และค่อนข้างแน่นอน คงต้องไปใช้งานบริการที่เรียกว่า Leased Line กันแล้วครับ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว รับรองเผ่นหนีกลับแทบไม่ทันเลยทีเดียว... สำหรับปัญหาการใช้งาน High Speed ADSL MODEM เท่าที่ใช้งานมา มีเฉพาะในส่วนเริ่มต้นของการติดตั้งเท่านั้น คือต้องรอการเชื่อมต่อสัญญาณ ADSL ก่อน ถึงจะใช้งานได้ (แตกต่างการใช้ modem ธรรมดา คือซื้อมาแล้วสามารถใช้งานได้ทันที) แต่หลังจากนั้น ก็ไม่มีปัญหาจุกจิกอะไรมากวนใจเลย... อ้อ! มีบางปัญหาที่พบเกี่ยวกับการใช้งานแล้วหลุดบ่อยๆ เท่าที่ทราบอาจเป็นปัญหาจากสายโทรศัพท์ที่ชื้นมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างยุ่งยากในการแก้ไขมากพอสมควร

พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

เชื่อว่าทุก ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบเครือข่าย หรือ Network มาบ้างแล้ว เพราะจริง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีการติดต่อสื่อสารถึงกัน โดยใช้ระบบเครือข่าย เช่น การโทรศัพท์พูดคุยกัน, การดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่การเบิก ถอนเงิน กับธนาคารด้วยเครื่องถอนเงินอัตโนมติ ATM และที่คุณกำลังอ่านข้อมูลผ่านทาง internet อยู่นี้ นั่นคือ คุณกำลังใช้งานในระบบเครือข่ายอยู่เหมือนกัน เราถือว่า internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่มากที่สุดในโลก... สิ่งเหล่านี้พอจะทำให้คุณเข้าใจบ้างไหมว่า ระบบเครือข่ายมีประโยชน์มากมายเพียงใด? ประเภทของคอมพิวเตอร์
Main Frame ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
Mini Computer or LAN คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
Personnel Computerคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครือข่าย LAN กับ WAN
Local Area Network (LAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับท้องถิ่น เช่นภายในตึกเดียวกัน
Wide Area Network (WAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล เช่นระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ สำหรับระบบเครือข่าย หรือ Network ที่จะกล่าวต่อไป จะเน้นในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ LAN (Local Area Network)
Network System - ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย คือ การนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อพ่วงกัน เพื่อใช้ในการสื่อสารถึงกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้ง ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น printer, harddisk เป็นต้น ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมได้แก่ ระบบแลน (LAN : Local Area Network)
Peer to Peer ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUBข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer
ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ
สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี
Client / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server
สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
มีระบบ Security ที่ดีมาก
รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี
สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง

Thursday, July 12, 2007

USB 2.0 กับข้อมูลที่ควรระวัง

USB คืออะไรUSB ย่อมาจาก Universal Serial Bus เป็นพอร์ท หรือช่องทางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem, Mouse, Keyboard, Digital Camera และอื่นๆ อีกมากมาย USB เริ่มต้นมีการใช้งานจะมีรุ่น USB 1.1 ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้น โดยเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่น USB 2.0 โดยมีรายละเอียดดังนี้
USB เวอร์ชั่น 1.1 มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 12 Mbits ต่อวินาที
USB เวอร์ชั่น 2.0 มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 480 Mbits ต่อวินาที ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ USB 2.0 Full Speed แะล USB 2.0 Hi-Speed
USB เวอร์ชั่น 2.0 Full Speed มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 12 Mbits ต่อวินาที
USB เวอร์ชั่น 2.0 Hi-Speed มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 480 Mbits ต่อวินาที การใช้งาน USB พอร์ต USB เป็นพอร์ทที่มีการใช้กระแสไฟด้วย ดังนั้นหลังการใช้งาน หรือการถอดสาย USB ออกจากเครื่องคอมฯ เราจำเป็นจะต้องมีการเรียกใช้สั่ง "Safely Remove Hardware" หรือ "Unplug or Eject Hardware" เสียก่อน โดยมีขั้นตอนสั้นๆ ดังนี้
ดับเบิลคลิกเลือกที่รูปลูกศรสีเขียว ที่บริเวณ TaskBar
หรือคลิกขวาเลือก Safely Remove Hardware หรือ Unplug or Eject Hardware (แล้วแต่ Windows แต่ละเวอร์ชั่น)
เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการยกเลิก
จากนั้นคลิกปุ่ม Stop
แค่นี้ก็สามารถถอดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้แล้วครับ

คำสั่งคีย์บอร์ด ShortCuts

คำสั่งบนคีย์บอร์ดที่สามารถใช้ควบคู่กับการใช้เมาส์ได้ ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ทดลองใช้ดูได้เลยครับ
คำสั่งในระบบ Windows
F1 เรียกคำสั่ง ช่วยเหลือ
Alt+F4 คำสั่งปิดโปรแกรม
Alt+Tab คำสั่งย้ายไปโปรแกรมอื่น
Ctrl+ESC เรียกคำสั่ง Start
Shift+Delete ลบไฟล์แบบถาวร
คำสั่งทำงานใน Windows
CTRL+C: Copy
CTRL+X: Cut
CTRL+V: Paste
CTRL+Z: Undo
CTRL+B: Bold
CTRL+U: Underline
CTRL+I: Italic
คำสั่งทำงานใน Windows
ปุ่มโลโก้: เรียกคำสั่ง Start
ปุ่มโลโก้+R เรียกคำสั่ง Run
ปุ่มโลโก้+M: Minimizes ทั้งหมด
ปุ่มโลโก้+E: Windows Explorer
ปุ่มโลโก้+F: เรียกคำสั่ง Find
ปุ่มโลโก้+D: Minimizes และแสดง Desktop
ปุ่มโลโก้+Break: แสดง System Properties

Tuesday, July 10, 2007

สุดยอดเทคนิคการค้นหา

หากคุณเป็นอีกคนที่ชอบการค้นหาใน Internet ลองทำตามขั้นตอนตามนี้จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลากับลิงค์ขยะเต็มหน้าจอ
  • ใส่เครื่องหมายฟันหนูในประโยคค้นหา เช่น "Air Condition" ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการค้นหาประโยคนั้นเป็นเหมือนคำ ๆ เดียว
  • ใช้เครื่องหมาย - ถ้ามีเครื่องหมายนี้จะทำ google รู้ว่าเราไม่ต้องการค้นหาคำที่อยู่หลังคำนี้
  • หาความหมายของคำ ใช้ google เป็นพจนานุกรม โดยพิมพ์คำว่า define ตามด้วยคำที่ต้องการความหมาย เช่น define:Compose
  • ถามตรง ๆ ด้วยภาษาอังกฤษ

สำหรับวันนี้ แค่นี้ก่อน หากมีข้อมูลเพิ่มอีกจะบันทึกอีก

Sunday, July 8, 2007

CAPTCHA (แคปช่า)



หลายวันก่อนมีผู้ใช้คนหนึ่งสอบถามเข้ามาว่า เวลาที่เข้าไปโพสต์กระทู้ที่ชื่นชอบในบางเว็บไซต์ ทำไมต้องมีช่องให้พิมพ์ตัวอักษรประหลาดๆทุกตัวตามที่ปรากฏอยู่ในกราฟฟิก
ที่แสดงขึ้นมาด้วย มิฉะนั้นระบบจะไม่ยอมจัดเก็บข้อความที่โพสต์เข้าไปได้ ซึ่งพักหลังพบหลายเว็บไซต์จะทำเช่นนี้

ผมชอบคำถามที่เกิดจากความสงสัยในลักษณะนี้มากๆเลยครับ
เพราะมัน ทำให้เราต้องค้นคว้าและได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น สิ่งที่ผู้ใช้คนนี้เห็น หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็อาจจะเคยพบเห็นด้วยเหมือนกัน แต่ก็ทำตาม โดยไม่ได้สงสัยว่า "ทำไม ?" รู้แค่ว่าทำตามแล้วมันก็จะทำได้ เจ้าสิ่งที่เห็นนี้เรียกว่าการทดสอบด้วย CAPTCHA ครับ

CAPTCHA ออกสียงว่า แคปช่า ชื่อเรียกมันแปลกๆไม่คุ้นหูเลย แต่มันกำลังได้รับความนิยม
มากขึ้นเรื่อยๆ ความจริงคำว่า CAPTCHA ย่อมาจาก Completely Automated Public Turing
Computer and Humans Apart แปลให้เข้าใจง่ายๆก็คือ กลไกอัตโนมัติที่ใช้ทดสอบเพื่อให้ทราบว่า
มนุษย์ หรือ คอมพิวเตอร์ กำลังดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ฮืม...ฟังดู ภาษายังเป็นทางการอยู่ดีนะครับ
สรุปแล้วก็คือ มันเป็นการทดสอบการตอบสนองโดยใช้ทดสอบกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตัดสินใจว่าผู้ใช้หรือผู้ที่กำลังติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นมนุษย์หรือไม่? นั่นเอง

ในกรณีของผู้ใช้รายนี้ที่สอบถามเข้ามา สิ่งที่เขาเห็นบนหน้าเว็บก็คือ CAPTCHA นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น



ซึ่งเพื่อนๆอาจจะเคยพบเห็นกราฟฟิกหน้าตาประมาณนี้ หรือยุ่งเหยิงกว่านี้ บนเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์บางแห่ง ตลอดจนเว็บไซต์อย่าง MySpace เจ้า CAPTCHA
ทำให้การใช้งาน หรือจัดการกับเว็บไซต์ดูยุ่งเหยิง แต่มันช่วยให้การใช้เน็ตของคุณปลอดภัยด้วย วัตถุประสงค์สำคัญของมันก็เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องมีการป้อนข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากแฮกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้สิ่งที่เรียกว่า "บอตส์" (bots) ในการโจมตีผู้ใช้ ซึ่งบอตที่ว่านี้สามารถสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแก้ปัญหาการทดสอบด้วย CAPTCHA ได้ จะต้องอาศัยมนุษย์ที่เพ่งดูกราฟฟิกยุ่งเหยิงเหล่านี้ และแกะตัวอักษรออกมาเพื่อพิมพ์ยืนยันอีกที ทำให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากบอตเหล่านี้ไปโดยปริยาย

ดังนั้น แม้การทดสอบนี้จะทำให้เพื่อนๆรู้สึกยุ่งยากบ้าง แต่นายเกาเหลารู้สึกปลอดภัยกว่า เมื่อเวลาเห็นพวกมัน เพราะฉะนั้นของดีๆอย่างนี้ อย่าไปเบื่อพวกมันเลยนะครับ

WebOS ระบบปฏิบัติการยุคใหม่

WebOS คืออะไร
WebOS (Web Operating System) หรืออาจจะเรียก Internet Operating System เป็นการนำเสนอมิติใหม่ซึ่งผสาน Computer และ Internet เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ต่อไปเราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมฯ หรือ โน้ตบุ๊ก เป็นของตัวเอง ก็สามารถจะทำงานได้

ต้นกำเนิด WebOS
WebOS ถือกำเนิดจากการค้นคว้าและวิจัยของ University of California,Berkeley ภายใต้ชื่อ WebOS Project เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแอพพลิเคชัน เพื่อทำงานบนเน็ตเวิร์ก

ประโยชน์ของ WebOS
  • ลดข้อจำกัดของระบบปฏิบัติการทั่วไป เพราะว่าหากเราใช้ WebOS ทำงานที่บ้านแล้วยังไม่เสร็จ และได้เซฟงานไว้ใน WebOS เมื่อเราไปที่ทำงาน หรือที่ไหนก็ได้ที่สามารถใช้บริการ Internet ได้และเราอยากจะทำงานที่ทำค้างเอาไว้ต่อให้เสร็จ เราก็สามารถจะทำได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีคอมฯ โน้ตบุ๊ก หรือ แฟลชไดร์ฟ ของเรา เพราะเราได้เก็บข้อมูลของเราไว้ใน Internet ซึ่งได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการ WebOS
  • สนับสนุนการพัฒนา Software แบบ Open Source ทั้งนี้เนื่องจาก WebOS ส่วนใหญ่พัฒนามาจาก Open Source ดังนั้นจึงอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนแก้ไขโปรแกรมได้ด้วยตนเอง แต่ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
  • ด้านเวลา สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีคอมฯ เป็นขของตนเอง ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษา
  • ด้านการเงิน ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อคอมฯ และ อุปกรณ์ รวมทั้งซอฟต์แวร์

WebOS ที่น่าสนใจ

แต่มีข้อจำกัดอย่างเดียวที่จะทำให้ไม่สามารถใช้ WebOS ได ้ก็คือ ใช้คอมฯ และใช้ Internet ไม่เป็น ผมหวังว่าสักวัน คนไทยต้องทำได้ ขอบคุณครับ

Saturday, July 7, 2007

LAN over the Internet


VPN แบบไม่ต้องสนใจ Router และไม่ต้อง Configuration เป็นการพัฒนาโปรแกรมต่อยอดมาจาก Logmein ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์ และระบบ Network สามารถนำมาใช้ในการซ่อมบำรุง แก้ไขปัญหาทางด้าน Software บนพีซีปลายทางที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ เพราะผมได้นำ Logmein มาทำการแก้ปัญหาให้กับพีซีของหลานสาว และผู้บังคับบัญชา หลายครั้งแล้ว โดยเครื่องปลายทางอยู่ที่ กทม และประจวบฯ ส่วนผมนั่งใช้โปรแกรมอยู่ที่ แหล่่งมั่วสุมทางความรู้ แห่งนี้ที่ นครศรีฯ ก็สามารถแก้ปัญหาให้ได้ และเมื่อ Logmein พัฒนาตัว Hamachi Logmein ทำให้การทำงานแบบ VPN เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเยอะ และไม่จำเป็นต้องซื้อ Hardware VPN Router ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง เพราะ Hamachi สามารถดูข้อมูลเครื่องปลายที่ได้ share ได้ และสามารถสั่งพิมพ์งานไปยังเครื่องปลายได้ (Share printer ด้วย)

Tuesday, July 3, 2007

โปรแกรม Repair Kit ฟรี และดี

โพรเซสและรีจิสทรี,ดูข้อมูลเครื่อง,ปรับแต่ง
    • DTask Manager
    • Erunt
    • LSASecretsView
    • NTREGOPT
    • Process Explorer
    • Produkey
    • System Information for Windows
    • Wirelesskey View
    • TweakUI
ติดตามการทำงานระบบ/ล้างไฟล์ขยะ
    • CCleaner
    • Filemon
    • PMMon
    • RegMon
    • What Change?
    • Why Reboot?
บีบอัด-ขยายไฟล์,ลดขนาดไฟล์
    • Auto compress
    • Patcher
    • Universal Extract
กู้ข้อมูล,ลบข้อมูลถาวร
    • Double Killer
    • Eraser
    • Restoration
จัดการฮาร์ดดิสก์
    • HDDscan
    • SequoiaView
ทำอิมเมจไฟล์ สร้างแผ่นซีดี สร้างไดร์ฟจำลอง
    • Ative@ISOBurner
    • CDimage
    • DriveImage XML
    • LC ISO Creator
    • Roadkil's Disk image
    • Virtual CD Control panal
ทดสอบระบบ
    • Brute Benchmark
    • Roadkil's CommTest
จัดการไฟล์ ป้องกันไฟล์ สำรองข้อมูล
    • encopy
    • Explore2FS
    • Hash
    • IceECC
ลบสปายแวร์
    • File Assassin
    • Rootkit Revealer

Monday, July 2, 2007

กำเนิดแหล่งมั่วสุมทางความรู้

แหล่งมั่วสุมทางความรู้ทางคอมพิวเตอร์ แห่งนี้กำเนิดขึ้นเพราะความปราถนาดีของท่านแม่ทัพ ทรงกิตติ จักษ์กาบาท ที่ต้องการให้ลูกหลานข้าราชการในค่ายวชิราวุธ มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และใช้เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Internet ซึ่งได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๖ โดยมีจำนวนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ๒๐ เครื่่อง