Thursday, May 8, 2008

ระบบสำนักงานออนไลน์

เนื่องจาก ผู้บังคับบัญชา ต้องการให้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานให้มีประโยชน์มากที่สุด จึงได้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น ความจริงแล้วโปรแกรมที่ใช้ทำระบบสำนักงานออนไลน์นั้นมีมาพร้อมกับ Office XP คือ Sharepoint เพียงแต่ว่าต้องมาติดตั้งเพิ่มเติมจากชุด Office , Sharepoint XP นั้น สามารถติดตั้งบน Windows XP ได้เลย แต่ Sharepoint 3.0 หรือ Sharepoint Server ต้องติดตั้งบน Windows Server 2003 +Sp and .net 2.0,3.0 ถึงจะทำงานได้

Thursday, April 10, 2008

10 ข้อห้าม,.10 ข้อแนะนำ

อ้างถึง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
10 กฏเหล็กห้าม
1.เจาะ...ข้อมูลของผู้อื่นที่ตั้งรหัสเอาไว้
2.เอา...รหัส หรือระบบรักษาความปลอดภัยของผู้อื่นไปเปิดเผย
3.ล้วง...ข้อมูลของผู้อื่นโดยยังไม่ได้รับอนุญาต
4.ดัก...อีเมล์ ส่วนตัวของผู้อื่นขณะทำการส่ง อีเมล์
5.แก้ไข...ทำลายข้อมูลของผู้อื่น โดยไม่ได้รับการยินยอม
6.ก่อกวน...ระบบของผู้อื่นจนระบบล่ม
7.ส่ง...เมล์รบกวนผู้อื่นจนก่อให้เกิดความเดือดร้อน
8.รบกวน...ระบบโครงสร้างทางด้านสาธารณณูปโภคและความมั่นคงของประเทศ
9.เผยแพร่...โปรแกรมที่ใช้ในการทำผิด
10.ส่งต่อ...ภาพลามกและเนื้อหาที่ทำลายความมั่นคงของประเทศ

10 ข้อแนะนำ ควรทำ
1.เปลี่ยนรหัส ทุก ๆ 3 เดือน
2.ไม่ใช้รหัสผ่านร่วมกับผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นรู้รหัสผ่าน
3.ใช้รหัสผ่าน เสร็จ ต้องออกจากโปรแกรมทันที
4.ตั้งระบบป้องกันการเจาะข้อมูล
5.เก็บรักษาข้อมูลของตนเองเป็นอย่างดี และต้องไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
6.อ่านเงื่อนไขใให้ละเอียดก่อนดาวน์โหลดโปรแกรม
7.แจ้งพนักงาน เจ้าหน้าที่เมื่อพบการกระทำความผิด
8.บอกต่อคนใกล้ชิด ให้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างระวัง
9.ไม่ใช้โปรแกรมที่ผิดกฏหมาย
10.ไม่หลงเชื่อโฆษณา หรือเนื้อหาในเวปใซต์ที่ไม่เหมาะสมจนถูกหลอกลวงได้

Monday, March 3, 2008

คำสั่งเบื้องต้นเกี่ยวกับ Linux

คำสั่งเบื้องต้นเกี่ยวกับ Linux

1. คำสั่งสำหรับผู้ใช้พื้นฐาน (Basic user command)

ls : : :แสดงรายชื่อแฟ้มในห้องปัจจุบันหรือห้องอื่นๆที่ต้องการ
chmod : : : เปลี่ยนสถานะของแฟ้มเช่น Read Write eXecute
man : : : แสดงรายละเอียดของคำสั่ง (Manual)
mkdir, rmdir, cd : : : คำสั่งเกี่ยวกับ Directory หรือ Folder เพื่อสร้าง หรือลบ
pico : : : editor ยอดฮิตใน Linux ที่ต้องมากับ Pine เป็น Text mode ที่ใช้ง่ายที่สุด
emacs : : : editor ยอดฮิตใน Linux ใช้ยากกว่า pico นิดหน่อย
vi : : : editor ยอดฮิตใน Linux ที่ใช้ยากที่สุด
id, finger, who, w : : : โปรแกรมตรวจสอบ username ของตนเอง
cat : : : แสดงข้อมูลในแฟ้มเหมือนคำสั่ง type ในระบบ DOS
ifconfig : : : ดู IP หรือเพิ่ม IP เข้าไปใน linux server
netstat : : : แสดงสถานะของเครือข่าย
service : : : แสดงสถานะโปรแกรมที่เปิดให้บริการ
xinetd : : : แสดงบริการที่เปิดใต้โปรแกรม xinetd
whereis : : : ค้นหาแฟ้มที่ต้องการว่าอยู่ที่ห้องใด
cp, rm, mv : : : จัดการแฟ้มเช่น คัดลอก ลบ และย้าย
ping : : : ตรวจสอบ ip และการเชื่อมต่อ internet
env : : : แสดงค่า environment ปัจจุบัน
lynx : : : Text browser ที่ใช้งานง่าย ใช้ดู source หรือ download ได้
nslookup : : : แสดงเลข IP จากชื่อ host หรือ domain name
tail : : : แสดงส่วนท้ายของแฟ้มที่มีขนาดใหญ่ ต้องข้ามกับ cat ที่ดูตั้งแต่เริ่มแฟ้ม
telnet : : : ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ .


2. คำสั่งสำหรับผู้ใช้ระดับกลาง (Intermediate user command)

df : : : แสดง partition ของ linux พร้อมขนาดที่ใช้ไป
du : : : แสดงพื้นที่ใช้งานในแต่ละ Directory
ps : : : แสดง process ที่กำลังทำงานอยู่ทั้งของเครื่อง และตนเอง
kill : : : ยกเลิก process ที่ทำงานอยู่
find : : : ค้นหาแฟ้มที่ต้องการภายในทุก ๆ directory ได้
gzip : : : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .gz
tar : : : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .tar
last : : : แสดงรายชื่อผู้ใช้งานระบบปัจจุบันไปถึงอดีต
grep : : : เลือกข้อความที่ต้องการภายในแต่ละบรรทัด
date, hwclock : : : ใช้กำหนด หรือแสดงเวลาปัจจุบัน
top : : : แสดง process ที่ทำงานในปัจจุบัน พร้อม refresh ตลอดเวลา
ntsysv และ setup : : : กำหนดบริการที่ต้องการเปิด หรือปิด เช่น httpd หรือ vsftp
route : : : ใช้กำหนด แสดง ตารางเส้นทาง
shutdown, reboot : : : ใช้ปิดเครื่อง หรือ ปิดและเปิดเครื่องใหม่อย่างถูกวิธี
runlevel : : : คู่กับแฟ้ม /etc/inittab
fsck : : : ซ่อมแซมระบบแฟ้มใน linux
chown, chgrp : : : เปลี่ยนเจ้าของ หรือเปลี่ยนกลุ่ม
chkconfig : : : กำหนด หรือแสดง บริการที่สั่งประมวลผลใน level ต่าง ๆ ขณะเปิดเครื่อง
mount, umount : : : สั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์ หรือ partition เช่น Diskette
mkbootdisk : : : สร้างแผ่น boot disk เพื่อใช้ boot ระบบ linux ขึ้นมาภายหลัง
traceroute : : : แสดงเลข ip ของเครื่องที่ถูกเชื่อมต่อ ไปยังปลายทางที่ต้องการ
rpm : : : ใช้ตรวจสอบ เพิ่ม หรือลบ package ของระบบ linux เกือบทั้งหมด
su : : : ขอเปลี่ยนตนเองเป็น Super user เพื่อใช้สิทธิ์สูงสุดในการบริหารระบบ
useradd : : : เพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้าไปในระบบ
userdel : : : ลบผู้ใช้รายเดิม ออกจากระบบ
usermod : : : แก้ไขข้อมูลของผู้ใช้ได้
crontab : : : ตั้งเวลาสั่งงานคอมพิวเตอร์
lspci : : : ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง
nmap : : : ตรวจสอบเครือข่ายแบบกวาดทั้งในเครื่อง และ class C

Sunday, March 2, 2008

ทบทวนความรู้

ความแตกต่างระหว่าง # และ $
Msgtnok # แสดงว่าเราคือ root (root คือ ผู้บริหารระบบที่มีสิทธิ์สูงสุด
Msgtnok $ แสดงว่าเราเป็นแค่ user มีสิทธิ์เฉพาะไดเรกทรอรีของตนเองเท่านั้น
คำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน
ls แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเรกทรอรี ปัจจุปันให้เราดู
pwd คำสั่งตรวจสอบไดเรกทรอรีปัจจุบัน
cd คำสั่งเปลี่ยนไดเรกทรอรี
mkdir คำสั่งสร้างไดเรกทรอรี
rmdir คำสั่งลบ
cp คำสั่งคัดลอก
rm คำสั่งลบไฟล์
mv ย้ายหรือปลี่ยนชื่อไฟล์
passwd เปลี่ยนรหัสผ่าน
nano การใช้งานโปรแกรมแก้ไข config
su เปลี่ยนโหมดจาก user เป็น root
shutdown การปิดเครื่อง -h now หยุดการทำงาน halt ของเครื่องทันที
-p now ใช้หยุดการทำงาน halt และปิดเครื่องทันที
-r now reboot เครื่องใหม่

Wednesday, January 16, 2008

เปลี่ยนชื่อไฟล์นับร้อย นับพันในคลิกเดียว

สำหรับผู้ใช้งานกล้องดิจิตอล คงอาจเคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับผม นั่นคือ ไฟล์ที่ได้จากกล้องดิจิตอล จะมีชื่อขึ้นต้นเหมือนกันและตามด้วยตัวเลขเช่น กล้องโซนี่ของผม จะขึ้นต้นด้วย 'DSC" ตามด้วย "000001.jpg" เช่น DSC00001.jpg, DSC00002.jpg, DSC00003.jpg,... เป็นต้น

เวลามีการ copy ข้อมูลจากกล้องเข้าเครื่องคอมฯ และต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนครั้งละไฟล์ ซึ่งเสียเวลาค่อนข้างมาก เพราะแต่ละครั้งอาจมีนับร้อยๆ ไฟล์จากการถ่ายเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ถ้ามีการ copy ข้อมูลลงในโฟลเดอร์เดียวกัน ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะถ้าไฟล์ชื่อเดียวกันก็อาจถูกทับกันไปหมด ผมมีเทคนิคมาบอกกัน โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
Copy ไฟล์ที่ต้องการทั้งหมดลงในเครื่องคอมฯ
เปิดโปรแกรม Windows Explorer คลุมชื่อไฟล์ทั้งหมดที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ
คลิกขวา เลือกคำสั่ง Rename พิมพ์ชื่อไฟล์ใหม่ที่ต้องการ (โปรแกรมจะเลือกให้เปลี่ยนเพียงไฟล์เดียว) จากภาพ ผมมีการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น My Photo.jpg กดปุ่ม Enter
โปรแกรมจะเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ และเรียงหมายเลขให้ด้วย ไม่ยากใช่ไหมครับ...

Tuesday, January 15, 2008

Annex A ,Annex B ที่พบใน Router

ตามมาตรฐาน G.992.1 นั้น เราแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ Annex A, Annex B และ Annex C ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้


Annex A คือ ADSL over Plain Old Telephone Services (POTS) หรือสายโทรศัพท์ทั่วไปนี่แหละครับ

Annex B คือ ADSL over Integrated Services Digital Network (ISDN)

Annex C คือ ADSL over ISDN ในประเทศญี่ปุ่นครับ

สำหรับในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็น Annex A ครับ